▂▃▅▆█♫ WELCOME to TRANSLATION™ (1103301) : การแปล 1.♫◤ยินดีต้อนรับเข้าสู่ TRANSLATION™ (1103301) : การแปล 1.◥ ...♥Miss You So Much♥ ...█▆▅▃▂

Wednesday, November 4, 2015

Learning Log : 20th October, 2015.

SUKSAN CHAIRAKSA NO.5681114011
ENGLISH MAJOR ’01, FACULTY OF EDUCATION.
NSTRU



Learning Log
 20th October, 2015.

          การเรียนรู้ภาษาอังกฤษถือเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนต้องปฏิบัติเพราะภาษาอังกฤษมีความสำคัญในการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน และในอนาคต ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่คนในปัจจุบันใช้สื่อสารกันแล้ว และได้มีการพัฒนาส่งต่อไปเรื่อยๆ ในอนาคตอย่างแน่นอน ผมจึงต้องมีการฝึกทักษะภาษาอังกฤษขึ้น
          20-23 ตุลาคม 2558
ผมมีการฝึกทักษะการฟังและการแปลเพลงสากล เหตุผลที่ผมเลือกการฟังเพลงเพราะว่าซึ่งการฟังเพลงไม่ได้แค่ช่วยให้รู้สึกครื้นเครงเท่านั้นจริง ๆ แต่ยังช่วยให้
1. คลายความเครียด
ใคร ๆ ก็รู้ว่าดนตรีช่วยให้เราอารมณ์ดีขึ้น ยิ่งได้ฟังเพลงโปรดก็ยิ่งแฮปปี้เพิ่มขึ้นอีกหลายเท่า แต่นอกจากความฟินที่ได้ฟังเพลงเพราะแล้ว งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา ยังเน้นย้ำให้แน่ใจอีกด้วยว่า การฟังเพลงโปรดช่วยคลายความเครียด ลดความกดดัน และคลายความกังวลในจิตใจได้เป็นอย่างดี อ้างอิงโดยการทดลองกับกลุ่มผู้ป่วย ICU นั่นเอง
                             2. ลดความอ้วนด้วยดนตรีจังหวะนุ่มนวล
สำหรับคนที่กำลังอยู่ในช่วงไดเอต และอยากจำกัดปริมาณการรับประทานอาหารของตัวเอง อย่างนี้ต้องจัดฉากโรแมนติก กินข้าวเคล้าเสียงเพลงคลาสสิค เพลงแจ๊ส หรือเพลงจังหวะเบา ๆ สักหน่อยแล้วเพราะวารสารด้านจิตวิทยาได้รายงานผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยคอร์เนลเอาไว้ว่า เหล่าคนที่กินข้าวเคล้าเสียงเพลงจังหวะนิ่ม ๆ จะกินอาหารได้น้อยลงกว่า 18% จากปกติ
                              3. กระตุ้นแรงบันดาลใจด้วยเพลงมีจังหวะ
ในขณะที่เพลงจังหวะเนิบช้าช่วยลดความอยากอาหาร มหาวิทยาลัยนอร์ธัมเบรียก็แสดงผลวิจัยตีคู่กันมาว่า เสียงเพลงในจังหวะเร็วขึ้นมาอีกนิดจะช่วยกระตุ้นความตื่นตัว เสริมแรงบันดาลใจที่ทำท่าว่าจะมอดดับให้กลับมามีพลังอีกครั้งได้ด้วย โดยผลลัพธ์ที่ได้ก็เกิดจากการทดสอบของกลุ่มวัยรุ่นที่เพิ่งเริ่มทำงาน ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำภารกิจแห่งความเครียดชิ้นหนึ่งและพบว่า เขาเหล่านี้จะทำภารกิจที่ได้รับมอบหมายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากกว่าตอนที่ยังไม่ได้ฟังเพลง
                             4. ช่วยให้การสูบฉีดเลือดคล่องตัวขึ้น
นักวิจัยชาวดัตช์ได้เผยผลวิจัยในการประชุมของสมาคมโรคหัวใจแห่งยุโรป เมื่อปี 2003 ว่า ผู้ป่วยที่ฟังเพลงโปรดวันละ 30 นาทีเป็นประจำในขณะที่ออกกำลังกาย จะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด เพิ่มกรดไนตริกออกไซด์ (Nitric Oxide) ตัวช่วยขยายหลอดเลือดให้เลือดเดินสะดวกยิ่งขึ้น ส่งผลดีต่อสุขภาพหัวใจในเวลาต่อมา
                             5. ยิ่งร้องประสานเสียงยิ่งมีความสุขได้อีก
ในจำนวนผู้ทดลอง 375 คน แบ่งเป็นกลุ่มนักร้องประสานเสียง นักร้องเดี่ยว และกลุ่มนักกีฬาเป็นทีม ผลวิจัยของประเทศอังกฤษก็พบว่า กิจกรรมที่ทำร่วมกันเป็นทีมจะมอบความสุขให้กลุ่มผู้ทดลองได้มากกว่า โดยเฉพาะกลุ่มนักร้องประสานเสียง ซึ่งสามารถวัดระดับความสุขได้สูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ ทั้งนี้นักวิจัยก็อธิบายเพิ่มเติมว่า การได้ทำอะไรร่วมกันเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว ความสามัคคี ความรู้สึกว่าเราเป็นทีมเดียวกัน จะส่งเสริมให้ทุกคนมีกำลังใจและมีความสุขมากขึ้น และยิ่งมีเสียงเพลงคอยขับกล่อมด้วยแล้ว ความสุขใจก็ทบทวีคูณเป็นสองเท่า
                             6. ลับสมองด้วยทักษะดนตรี
วารสารประสาทวิทยาแสดงผลวิจัยที่เกี่ยวข้องกับดนตรีกับประสิทธิภาพการทำงานของสมองให้ได้รู้ทั่วกันว่า คนที่มีทักษะการเล่นดนตรีชนิดใดชนิดหนึ่งตั้งแต่ยังเด็ก หรือแม้จะเพิ่งเริ่มเล่นดนตรีในช่วงวัยรุ่นก็ตาม มีแนวโน้มคงประสิทธิภาพการทำงานของสมองได้ยาวนานกว่าคนที่ชีวิตนี้ไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับดนตรีเลย อีกทั้งนักดนตรีทั้งหลายยังมีทักษะการแยกแยะและตอบสนองต่อเสียงได้ยอดเยี่ยมอีกต่างหาก
                             7. เสียงเพลงเรียกร้องความร่วมมือจากเด็ก ๆ ได้เป็นอย่างดี
นักวิจัยจากประเทศอังกฤษก็แนะนำให้ส่งเด็ก เข้าเรียนดนตรีตั้งแต่ยังเล็ก ๆ ไปเลย เพราะเสียงเพลงจะช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้เกิดความอ่อนโยน มีสมาธิมากขึ้น และมีแนวโน้มเป็นเด็กเก่งที่มีน้ำใจเอื้อเฟื้อให้เพื่อน ๆ ด้วย
                             8. ชะลออารมณ์หงุดหงิดของคนขับรถ
ทุกคนที่ใช้รถใช้ถนนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่า การขับรถเป็นวิธีสร้างอารมณ์ฉุนเฉียวให้เราได้มากมายขนาดไหน งานวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ในวารสารการยศาสตร์ เมื่อปี 2013 ก็ชี้แนะวิธีลดความโกรธของผู้ขับขี่โดยให้ผู้ขับขี่เปิดเพลงโปรดฟังคลอการขับขี่ไปเรื่อย ๆ แค่นี้ก็จะสามารถควบคุมอารมณ์และการขับขี่ของตัวเองได้อย่างง่ายมากกว่าเดิมแล้ว
                             9.  ควบคุมโรคมะเร็งในเด็กได้อยู่หมัด
โรงพยาบาลเพื่อการวิจัยเด็กเซนต์จูด (St. Jude Children’s Research Hospital) ได้เผยผลการทดลองว่า กลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งวัยเด็กจนถึงวัยรุ่นที่ทำการรักษาด้วยดนตรี มีแนวโน้มควบคุมการขยายตัวของโรคมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่กำลังอยู่ในช่วงปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ที่ได้เรียนรู้การเขียนเพลงและการทำมิวสิควิดีโอ เนื่องจากโลกแห่งเสียงดนตรีจะช่วยเยียวยาความรู้สึก และป้องกันปัจจัยภายนอกที่จะเข้ามาบั่นทอนผู้ป่วยให้หมดกำลังใจในการรักษาได้ และเมื่อผู้ป่วยมีจิตใจที่เข้มแข็งขึ้นก็มีโอกาสต่อสู่โรคมะเร็งได้อย่างเต็มประสิทธิภาพขึ้นนั่นเอง
ในการฟังเพลงสากลนั้น ผมจะเลือกฝึกฟังในเพลงที่ง่ายๆ เสียก่อน เพราะเราเพิ่งเริ่มต้น จึงต้องเริ่มจากสิ่งที่ง่ายที่สุด ขึ้นไปตามลำดับขั้นตอน อย่างเช่นเพลงของ Katy Perry จะเป็นเพลงที่ฟังง่ายมาก เพราะเธอเป็นคนที่ร้องเพลงเสียงดังฟังชัด อีกอย่างเนื้อเพลงของเธอจะมีความไพเราะมากหากได้มีการแปลออกมา ซึ่งผมจะเลือกฟังทั้งอัลบั้ม เพราะจะได้ไม่เสียเวลาในการเลือกเพลงใหม่ๆ อีก
การฟังเพลงสากล ผมจะเริ่มจากการฟังเพลงปกติก่อน สักประมาณ 2-3 รอบ  เมื่อฟังเข้าใจแล้วผมก็เปิด Music Video ดูตามไปด้วยว่าตรงกับที่เราแปลในใจคิดไว้หรือไม่ หลังจากนั้นก็ดูใหม่อีก 2-3 รอบ เมื่อผมเข้าใจแล้ว ก็นำที่แปลมาดู และทำความเข้าใจไปพร้อมกับเพลงเรื่อยๆ ส่วนคำศัพท์ยากผมจะจดทันทีเมื่อเจอ และนำมาท่องจำเพื่อประโยชน์อีกด้วย
          24-26 ตุลาคม 2558
ผมได้ทำการฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดยผมได้นำวิธีที่ครูใช้สอนมาฝึกปฏิบัติเอง ซึ่งการอ่านภาษาอังกฤษ มี 2 ลักษณะ คือ การอ่านออกเสียง (Reading aloud) และ การอ่านในใจ (Silent Reading ) การอ่านออกเสียงเป็นการอ่านเพื่อฝึกความถูกต้อง (Accuracy) และความคล่องแคล่ว ( Fluency) ในการออกเสียง ส่วนการอ่านในใจเป็นการอ่านเพื่อรับรู้และทำความเข้าใจในสิ่งที่อ่านซึ่งเป็นการอ่านอย่างมีจุดมุ่งหมาย เช่นเดียวกับการฟัง ต่างกันที่ การฟังใช้การรับรู้จากเสียงที่ได้ยิน ในขณะที่การอ่านจะใช้การรับรู้จากตัวอักษรที่ผ่านสายตา ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถเพิ่มพูนขึ้นได้ ด้วยเทคนิควิธีการโดยเฉพาะ ครูผู้สอนจึงควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการอ่านให้แก่ผู้เรียนอย่างไรเพื่อให้การอ่านแต่ละลักษณะประสบผลสำเร็จ
1. เทคนิควิธีปฎิบัติ
1.1 การอ่านออกเสียง การฝึกให้ผู้เรียนอ่านออกเสียงได้อย่าง ถูกต้อง และคล่องแคล่ว ควรฝึกฝนไปตามลำดับ โดยใช้เทคนิควิธีการ ดังนี้
(1) Reading for Fluency ( Chain Reading) คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนอ่านประโยคคนละประโยคอย่างต่อเนื่องกันไป เสมือนคนอ่านคนเดียวกัน โดยครูสุ่มเรียกผู้เรียนจากหมายเลขลูกโซ่ เช่น ครูเรียก Chain-number One นักเรียนที่มีหมายเลขลงท้ายด้วย 1,11,21,31,41, 51 จะเป็นผู้อ่านข้อความคนละประโยคต่อเนื่องกันไป หากสะดุดหรือติดขัดที่ผู้เรียนคนใด ถือว่าโซ่ขาด ต้องเริ่มต้นที่คนแรกใหม่ หรือ เปลี่ยน Chain-number ใหม่

(2) Reading and Look up คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนแต่ละคน อ่านข้อความโดยใช้วิธี อ่านแล้วจำประโยคแล้วเงยหน้าขึ้นพูดประโยคนั้นๆ อย่างรวดเร็ว คล้ายวิธีอ่านแบบนักข่าว
(3) Speed Reading คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนแต่ละคน อ่านข้อความโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ การอ่านแบบนี้ อาจไม่คำนึงถึงความถูกต้องทุกตัวอักษร แต่ต้องอ่านโดยไม่ข้ามคำ เป็นการฝึกธรรมชาติในการอ่านเพื่อความคล่องแคล่ว( Fluency) และเป็นการหลีกเลี่ยงการอ่านแบบสะกดทีละคำ
(4) Reading for Accuracy คือ การฝึกอ่านที่มุ่งเน้นความถูกต้องชัดเจนในการออกเสียง ทั้ง stress / intonation / cluster / final sounds ให้ตรงตามหลักเกณฑ์ของการออกเสียง ( Pronunciation) โดยอาจนำเทคนิค Speed Reading มาใช้ในการฝึก และเพิ่มความถูกต้องชัดเจนในการออกเสียงสิ่งที่ต้องการ จะเป็นผลให้ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านได้อย่างถูกต้อง (Accuracy) และ คล่องแคล่ว( Fluency) ควบคู่กันไป
1.2 การอ่านในใจ ขั้นตอนการสอนทักษะการอ่าน มีลักษณะเช่นเดียวกับขั้นตอนการสอนทักษะการฟัง    แต่ละกิจกรรมอาจใช้เทคนิค ดังนี้
1) กิจกรรมระหว่างการอ่าน หรือ กิจกรรมขณะที่สอนอ่าน ( While-Reading) เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติในขณะที่อ่านสารนั้น กิจกรรมนี้มิใช่การทดสอบการอ่าน แต่เป็นการ “ฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ” กิจกรรมระหว่างการอ่านนี้ ควรหลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติทักษะอื่นๆ เช่น การฟัง หรือ การเขียน อาจจัดกิจกรรมให้พูดโต้ตอบได้บ้างเล็กน้อย เนื่องจากจะเป็นการเบี่ยงเบนทักษะที่ต้องการฝึกไปสู่ทักษะอื่นโดยมิได้เจตนา กิจกรรมที่จัดให้ในขณะฝึกอ่าน ควรเป็นประเภทต่อไปนี้
Matching คือ อ่านแล้วจับคู่คำศัพท์ กับ คำจำกัดความ หรือ จับคู่ประโยค เนื้อเรื่องกับภาพ แผนภูมิ
Ordering คือ อ่านแล้วเรียงภาพ แผนภูมิ ตามเนื้อเรื่องที่อ่าน หรือ เรียงประโยค (Sentences) ตามลำดับเรื่อง หรือเรียงเนื้อหาแต่ละตอน ( Paragraph) ตามลำดับของเนื้อเรื่อง
Completing คือ อ่านแล้วเติมคำ สำนวน ประโยค ข้อความ ลงในภาพ แผนภูมิ ตาราง ฯลฯ ตามเรื่องที่อ่าน
Correcting คือ อ่านแล้วแก้ไขคำ สำนวน ประโยค ข้อความ ให้ถูกต้องตามเนื้อเรื่องที่ได้อ่าน
Deciding คือ อ่านแล้วเลือกคำตอบที่ถูกต้อง ( Multiple Choice) หรือ เลือกประโยคถูกผิด ( True/False) หรือ เลือกว่ามีประโยคนั้นๆ ในเนื้อเรื่องหรือไม่ หรือ เลือกว่าประโยคนั้นเป็นข้อเท็จจริง ( Fact) หรือ เป็นความคิดเห็น ( Opinion)
Supplying / Identifying คือ อ่านแล้วหาประโยคหัวข้อเรื่อง ( Topic Sentence) หรือ สรุปใจความสำคัญ( Conclusion) หรือ จับใจความสำคัญ ( Main Idea) หรือตั้งชื่อเรื่อง (Title) หรือ ย่อเรื่อง (Summary) หรือ หาข้อมูลรายละเอียดจากเรื่อง ( Specific Information)
2) กิจกรรมหลังการอ่าน (Post-Reading) เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ภาษาในลักษณะทักษะสัมพันธ์เพิ่มขึ้นจากการอ่าน ทั้งการฟัง การพูดและการเขียน ภายหลังที่ได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมระหว่างการอ่านแล้ว โดยอาจฝึกการแข่งขันเกี่ยวกับคำศัพท์ สำนวน ไวยากรณ์ จากเรื่องที่ได้อ่าน เป็นการตรวจสอบทบทวนความรู้ ความถูกต้องของคำศัพท์ สำนวน โครงสร้างไวยากรณ์ หรือฝึกทักษะการฟังการพูดโดยให้ผู้เรียนร่วมกันตั้งคำถามเกี่ยวกับเนื้อเรื่องแล้วช่วยกันหาคำตอบ สำหรับผู้เรียนระดับสูง อาจให้พูดอภิปรายเกี่ยวกับอารมณ์หรือเจตคติของผู้เขียนเรื่องนั้น หรือฝึกทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ได้อ่าน เป็นต้น
การฝึกปฏิบัติทักษะการอ่านที่ง่ายๆ เลย คือแบ่งออกเป็นก่อนอ่าน อ่าน และหลังอ่าน เราควรเลือกใช้ให้ถูกต้อง ซึ่งก่อนอ่านคือเราเห็นชื่อเรื่องแล้วเราต้องทราบว่าผู้เขียนต้องการอะไร เพียงแค่การทำนายไปก่อน หลังจากนั้นเราก็เริ่มอ่าน โดยการอ่านนั้นมีได้หลายวิธี อาจจะอ่านโดยแตกแผนผังความคิดออกมาด้วยก็ได้ เมื่ออ่านจบเราก็จะได้ใจความสำคัญที่เราได้ทำการสรุปไว้ เสร็จแล้วก็เราสรุปแล้วตั้งคำถามกับตัวเองว่าได้อะไรบ้างในการอ่านสิ่งนั้นสิ่งนี้ ซึ่งจะทำให้เรามีการฝึกคิดและเข้าใจเรื่องได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย
          การฝึกปฏิบัติทักษะเป็นส่งที่ผมต้องปฏิบัติในทุกๆ วัน เพราะจะทำให้เราเป็นคนที่มีความชำนาญมากยิ่งขึ้นไป ดังเช่นผมที่ได้ฝึกในทุกๆ วัน ทำให้ผมได้มีการพัฒนาทางด้านภาษาอย่างเห็นได้ชัดและทำให้ผมเข้าใจ สามารถนำความรู้ต่าง ๆ ที่ผมได้ทำการค้นหา ค้นคว้าอยู่ตลอดเวลามาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

https://www.gotoknow.org/posts/478166
http://health.kapook.com/view92434.html
SUKSAN CHAIRAKSA NO.5681114011
ENGLISH MAJOR ’01, FACULTY OF EDUCATION.
NSTRU

No comments:

Post a Comment