▂▃▅▆█♫ WELCOME to TRANSLATION™ (1103301) : การแปล 1.♫◤ยินดีต้อนรับเข้าสู่ TRANSLATION™ (1103301) : การแปล 1.◥ ...♥Miss You So Much♥ ...█▆▅▃▂

Tuesday, May 31, 2016

หลักการแปลวรรณกรรม

SUKSAN CHAIRAKSA NO.5681114011
ENGLISH MAJOR ’01, FACULTY OF EDUCATION.
NSTRU

หลักการแปลวรรณกรรม

          ปัจจุบันนี้ภาษาอังกฤษมีบทบาทสำคัญยิ่งและเป็นตัวจักรสำคัญที่จะช่วยให้ประเทศไทยพัฒนาได้ทัน ต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก โดยมุ่งใช้ความก้าวหน้าของสังคมฐานความรู้ และนวัตกรรมทางเทคโนโลยี สารสนเทศเป็นปัจจัยชี้นำในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทย จะต้องเตรียมความพร้อมของบุคลากรให้มีสมรรถนะทางด้านภาษาเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งจะ มีผลในปี พ.ศ. 2558 และจะทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีของประเทศในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ดังนั้นการเตรียมความพร้อมของบุคลากรของประเทศเพื่อให้มีทักษะภาษาอังกฤษในระดับที่สามารถติดต่อสื่อสาร แสวงหาความรู้ สร้างความร่วมมือ เจรจาต่อรอง และสร้างความสัมพันธ์อันดีได้ จึงมีความสำคัญ เป็นอย่างยิ่ง โดยการหมั่นศึกษาหาความรู้ของพวกเรานั่นเอง
          “วรรณกรรม” (Literature) หมายถึง หนังสือที่แต่งขึ้นด้วยความคิดสร้างสรรค์ไม่ว่าจะใช้วิธีร้อยแก้วหรือร้อยกรอง ไม่ว่าจะเป็นผลงานของกวีโบราณหรือปัจจุบัน ซึ่งคงจะรวมถึงสิ่งที่เรียกว่า “วรรณคดี” หรือเป็นงานเขียนที่แต่งขึ้นหรืองานศิลปะ ที่เป็นผลงานอันเกิดจากการคิด และจินตนาการ แล้วเรียบเรียง นำมาบอกเล่า บันทึก ขับร้อง หรือสื่อออกมาด้วยกลวิธีต่างๆ โดยทั่วไปแล้ว จะแบ่งวรรณกรรมเป็น 2 ประเภท คือ วรรณกรรมลายลักษณ์ คือวรรณกรรมที่บันทึกเป็นตัวหนังสือ และวรรณกรรมมุขปาฐะ อันได้แก่วรรณกรรมที่เล่าด้วยปาก ไม่ได้จดบันทึก
        นวนิยายแปลเป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในทุกประเทศและทุกกาลสมัย ผู้แปลมีความสำคัญเกือบจะเท่ากับผู้แต่ง งานแปลนวนิยายและหนังสือประเภทบันเทิงคดี มักจะนำชื่อเสียงเกียรติคุณมาสู่ผู้แปล ดังนั้นงานแปลประเภทนี้จึงมีความสำคัญมากในวงการแปล คุณค่าของวรรณกรรมอยู่ที่ศิลปะในการใช้ภาษาของผู้แปลที่สามารถค้นหาถ้อยคำสำนวนสละสลวยไพเราะสอดคล้องกับต้นฉบับได้เป็นอย่างดี
          หลักการแปลนวนิยาย
          1. การแปลชื่อเรื่องของวรรณกรรม
·       ชื่อหนังสือหรือชื่อภาพยนตร์มีความสำคัญเป็นอันดับแรก เพราะผู้แต่งได้พิถีพิถันตั้งชื่องานอย่างดีที่สุด เพื่อบอกคุณลักษณะของงานเพื่อเร้าใจผู้อ่านผู้ชมให้สนใจกระหายใคร่ติดตามงานของเขา และเพื่อบอกผู้อ่านเป็นนัยๆว่า ผู้เขียนต้องการสื่ออะไรต่อผู้อ่าน
·       การแปลชื่อเรื่องไม่แปล แต่ใช้ชื่อเดิม (ทับศัพท์) ด้วยวิธีการถ่ายทอดเสียง หรือถ่ายทอดตัวอักษร
·       แปลตรงตัว ถ้าชื่อต้นฉบับมีความสมบูรณ์ครบถ้วนเหมาะสมก็จะใช้วิธีแปลตรงตัวโดยรักษาคำและความหมายไว้ด้วยภาษาไทยที่ดีและกะทัดรัด
·       แปลบางส่วนดัดแปลงบางส่วน จะใช้วิธีนี้ต่อเมื่อชื่อในต้นฉบับห้วนเกินไปไม่ดึงดูดืและไม่สื่อความหมายเพียงพอ
·       ตั้งชื่อใหม่โดยการตีความชื่อเรื่องและเนื้อเรื่อง ผู้แปลต้องใช้ความเข้าใจวิเคราะห์ชื่อเรื่องและเนื่องเรื่องจนสามารถจับประเด็นสำคัญ และลักษณะเด่นของเรื่อง จึงสามรถตั้งชื่อใหม่ที่ดีได้

          2.  การแปลบทสนทนา
สิ่งที่เป็นปัญหายุ่งยากของการแปลนวนิยายคือ บทสนทนา หรือถ้อยคำโต้ตอบกันของตัวละคร ซึ่งใช้ภาษาพูดหลายระดับ แตกต่างกันตามสถานภาพทางสังคมของผู้พูด ตั้งแต่ภาษา ราชาศัพท์ ภาษาสุภาพ ภาษาที่เป็นทางการ ภาษากันเอง และบางครั้งก็เป็นภาษาพูดระดับตลาด ซึ่งเต็มไปด้วยคำแสลง คำตัดสั้นๆที่ใช้กันตามความเป็นจริง

          3. การแปลบทบรรยาย
เป็นข้อความที่เขียนเล่าเรื่องราวเหตุการณ์ซึ่งมักใช้ภาษาเขียนที่ขัดเกลาและแตกต่างกันหลายระดับ ก่อให้เกิดความยุ่งยากในการแปลเพื่อให้สอดคล้องกับต้นฉบับเดิม

        บทละคร คือ วรรณกรรมการแสดงถ้าไม่มีดรตรีหรือบทร้อยกรองประกอบเรียกว่า ละครพูด ถ้ามีดนตรีหรือบทร้องเป็นส่วนสำคัญก็เรียกกันทั่วไปว่า ละครร้อง ละครรำ ละครไทยมีชื่อเรียกมากมาย เช่น ละครชาตรี ลิเก
          หลักการแปลบทละคร
·       การอ่านต้นฉบับบทละคร อ่านหลายๆครั้ง อ่านครั้งแรกเพื่อทำความเข้าใจเนื้อเรื่องอย่างคร่าวๆ ตรวจสอบความเข้าใจด้วยการตั้งคำถาม  ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด อ่านครั้งต่อไปเพ่อค้นหาความหมายของคำและวลีที่ไม่รู้จักโดยใช้พจนานุกรมช่วย และหาความรู้รอบตัวเมเติมเกี่ยวกับต้นฉบับ
          บทภาพยนตร์ที่นำแปลจะถ่ายทอดเป็นบทเขียนก่อน นอกจากบางครั้งไม่มีบทเขียน ผู้แปลต้องดูและฟังจากฟิล์ม จุดประสงค์หลักของบทภาพยนตร์แปลมี 2 ประการ คือ
        หลักการแปลบทภาพยนตร์
·       นำบทแปลไปพากย์ หรืออัดเสียงในฟิล์ม
·       นำบทแปลไปเขียนคำบรรยายในฟิล์ม
·       วิธีแปลบทภาพยนตร์ มีขั้นตอนดำเนินการเช่นเดียวกับการแปลบทละคร และการ์ตูน ซึ่งต้องอ่านทั้งข้อความ ภาพ และฉากพร้อมๆกันโดยมีสัมพันธภาพต่อกัน
          บันเทิงคดีประเภทนิทาน นิยาย เรื่องเล่า เป็นสิ่งที่มีมาแต่โบราณสมัยที่ยังไม่ใช้ตัวอักษรสื่อสารกัน คนโบราณสื่อกันด้วยการบอกเล่า นิทาน นิยาย และเรื่องเล่าจึงเป็นการเล่าเรื่องด้วยปากด้วยวาจา
        หลักการแปลนิทาน นิยาย
1. การอ่านต้นฉบับนิทาน
·       อ่านครั้งแรกอย่างรวดเร็วเพื่อทำความเข้าใจเนื้อเรื่องของนิทาน แล้วตรวจสอบความเข้าใจเนื้อเรื่องด้วยคำถามทั้ง 5 คือ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อใด ทำไม อ่านครั้งต่อไปอย่างช้า และค้นหาความหมาย และคำแปล ทำรายการคำ และวลี ที่ไม่ทราบความหมาย ค้นหาความหมายในพจนานุกรม

          2. การเขียนบทแปล
·       การใช้ภาษาในนิทานอีสปเรื่องนี้เป็นภาษาระดับกลาง ใช้วิธีเขียนแบบเก่า โบราณ ไม่เหมือนปัจจุบัน การใช้ภาษาในการแปลสรรพนามที่สัตว์ใช้นิทานนี้ ควรใช้ภาษาเก่า เช่น เจ้า ข้า ตอนจบเป็นคำสอน การแปลชื่อของเรื่องนี้ สามารถใช้วิธีแปลตรงตัวได้

          ผู้อ่านจะต้องเข้าใจปมของอารมณ์ขัน และหยิบยกขึ้นมาแปลถ่ายทอดให้ตรงตามต้นฉบับ เรื่องเล่าแฝงอารมณ์ขันมักจะใช้ถ้อยคำจำกัดกะทัดรัด ถ้ามีความกำกวมก็เป็นเพราะผู้เขียนจงใจ เพราะความกำกวมสร้างอารมณ์ขันได้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะกระชั้นชิดแบบรวดเดียวจบ เพื่อให้ความกระชับ ตอนจบเป็นจุดเด่นของเรื่อง
        หลักการแปลเรื่องเล่า
          การดำเนินแปลตามขั้นตอน เช่นเดียวกับการแปลวรรณกรรมประเภทอื่นๆ คือเริ่มต้นด้วยการอ่านต้นฉบับให้เข้าใจแล้วเขียนบทแปล
          1. การอ่านต้นฉบับเรื่องเล่า
·       อ่านครั้งแรกอย่างรวดเร็วเพื่อทำความเข้าใจเนื้อเรื่องของนิทาน แล้วตรวจสอบความเข้าใจเนื้อเรื่องด้วยคำถามทั้ง 5 คือ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อใด ทำไม

          2. การเขียนบทแปล
·       การใช้ภาษาในเรื่องนี้เป็นภาษาระดับกลาง มีความกำกวม และอารมณ์ขัน ผู้แปลต้องเลือกหาคำที่ฟังดูน่าขัน

          หลักการสำคัญในการแปลการ์ตูน คือการใช้คำแปลที่สั้น ชัดเจน เข้าใจได้ หรือสื่อความหมายได้ สามรถจำกัดจำนวนคำให้อยู่ภายในกรอบคำที่พูดได้ ภาษาในบทสนทนาของการ์ตูนมีหลายระดับขึ้นอยู่กับตัวละครที่สร้างขึ้น ซึ่งผู้แปลต้องใช้ความสังเกต และความระมัดระวังให้การใช้ภาษาแปลมีความสอดคล้องกัน
หลักการแปลการ์ตูน
          วิธีแปลการ์ตูนดำเนินการแปลตามขั้นตอนเช่นเดียวกับการแปลเรื่องเล่า คือเริ่มต้นด้วยการอ่านต้นฉบับให้เข้าใจโดยสังเกตรายละเอียดของภาพด้วย
          1. การอ่านและดูภาพการ์ตูน
การอ่านครั้งแรก อ่านเร็วๆ เพื่อทำความเข้าใจคำพูด และภาพ แล้วตอบคำถาม

          2. การเขียนบทแปล
·       เมื่อเข้าใจเรื่องราวตลอดแล้ว อ่านซ้ำอีกอย่างละเอียดเพื่อเตรียมการเขียน ถ้ายังเขียนไม่ได้ก็หมายความว่ายังเข้าใจไม่ชัด เพราะติดศัพท์บางตัว ผู้แปลควรหาหนังสือมาอ่าน
         
          กวีนิพนธ์เป็นวรรณกรรมที่แต่งเป็นบทร้อยกรอง มีกฎเกณฑ์แน่นอนตายตัวด้วยการจำกัดจำนวนคำ จำนวนพยางค์ และจำยวนบรรทัด ทั้งเสียงหนัก – เบา การสัมผัส และจังหวะไทยเราเรียกข้อบังคับของกวีนิพนธ์ว่า นทลักษณ์ ใช้เป็นแนวทางแต่งโคลงฉันท์กาพย์กลอน
        หลักการแปลกวีนิพนธ์
          จุดมุ่งหมายของกวีนิพนธ์ เพื่อเล่าเรื่อง ให้ความรู้และสอนศีลธรรมขณะเดียวกันก็ให้ความบันเทิงเพลิดเพลิน มุ่งแสดงความรู้สึกนึกคิดมากกว่าเล่าเรื่อง ดังนั้นการแปลกวีนิพนธ์จึงต้องแปลให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายด้วย
         
ลักษณะของการแปลกวีนิพนธ์
          1. แปลเป็นร้อยกรอง
·       ส่วนใหญ่จะใช้ในการเขียนเล่าถึงการท่องเที่ยว หรือการเดินทาง

          2. แปลเป็นร้อยแก้วที่ประณีต

ปัญหาการแปลกวีนิพนธ์
          1. ความเข้าใจ
·       ผู้แปลจำเป็นต้องเข้าใจภูมิหลังของกวีมากพอสมควร จึงจะเกิดความเข้าใจที่ถ่องแท้ได้

          2. การเลือกใช้ถ้อยคำสำนวน

          ทุกคนจำเป็นต้องเรียนรู้และใช้ภาษาอังกฤษ ในการพัฒนาตนเอง เตรียมพร้อมด้านภาษา จะเห็นได้ว่าความจำเป็นในการฝึกฝนภาษาอังกฤษจากสื่อโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากแหล่งเรียนรู้ใน internet จึงเป็นเสมือนแหล่งขุมทรัพย์แห่งการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้ผู้สนใจได้ฝึกทักษะการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารทั้งด้านฟัง พูด อ่าน และเขียน และฝึกในบริบทที่มีความหลากหลาย สามารถเลือกเนื้อหาได้ตามความสนใจ ขอเพียงมีความมุ่งมั่น There is really no excuse for not learning English. ไม่มีข้ออ้างที่จะไม่เรียนภาษาอังกฤษกันอีกแล้ว Practice makes perfect !


https://th.wikipedia.org/wiki/วรรณกรรม/

No comments:

Post a Comment