▂▃▅▆█♫ WELCOME to TRANSLATION™ (1103301) : การแปล 1.♫◤ยินดีต้อนรับเข้าสู่ TRANSLATION™ (1103301) : การแปล 1.◥ ...♥Miss You So Much♥ ...█▆▅▃▂

Tuesday, May 31, 2016

กระบวนการแปล

SUKSAN CHAIRAKSA NO.5681114011
ENGLISH MAJOR ’01, FACULTY OF EDUCATION.
NSTRU


กระบวนการแปล

          ในฐานะภาษาสำคัญของโลก ภาษาอังกฤษปัจจุบันคือภาษานานาชาติ เป็นภาษากลางของโลก ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางของมนุษยชาติ เป็นภาษาที่มนุษย์บนโลกใช้ติดต่อระหว่างกันเป็นหลัก ไม่ว่าแต่ละคนจะใช้ภาษาอะไรเป็นภาษาประจำชาติ เมื่อต้องติดต่อกับคนอื่นที่ต่างภาษาต่างวัฒนธรรมกันทุกคนจำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้ทุกชาติทุกภาษาจึงบรรจุวิชาภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองรองลงมาจากภาษาประจำชาติ เป็นแกนหลักของหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ปฐมวัยไปจนถึงการศึกษาตลอดชีวิต เราจึงต้องมีความมุ่งมานะในการเรียนให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะวิชาการแปล
          กระบวนการแปล (Process of Translating) เป็นการคิดค้นหาวิธีการที่จะทำงานแปล และนำมาปฏิบัติ แล้วนำมาจัดทำเป็นขั้นตอนต่าง ๆ  ในการที่จะทราบถึงขั้นตอนกระบวนการแปลนั้น เราต้องรู้จักกับรูปแบบของกระบวนการแปล (Models of the Translation Process) เสียก่อน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
1. รูปแบบกระบวนการแปลของ Roger T. Bell (Bell’s Model of Translation Process)
          การแปล (translation) = “the replacement of a representation of a text in one language by a representation of an equivalent text in a second language”
โดยใช้กระบวนการข่าวสารของมนุษย์ เกิดอยู่ในบริเวณทางจิต เป็นความจำระยะสั้นและระยะยาว ใช้การตีความหมายเป็นเครื่องมือในการถอดความหมายเป็นภาษาฉบับแปล ใช้ภาษาระดับอนุประโยค โดยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้
                   ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ (Analysis)
                             1.1 การวิเคราะห์โครงสร้าง (Syntactic Analysis)
1.1.1 อ่านต้นฉบับในระดับอนุประโยค
1.1.2 แยกโครงสร้าง (ใช้โครงสร้างภาษา
ได้แก่ subject, predicator, complement, object, adjunct)
(มี 6 clause patterns : SP, SPC, SPO, SPOO, SPOC, SPOA)
หากเราถนัดในโครงสร้างของคำต่าง ๆ  ก็จะทำให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น
1.2 การวิเคราะห์เนื้อหา (Semantic Analysis)
- ใส่เนื้อหาให้กับโครงสร้างที่ได้มาจากขั้นตอนแรก (clause นี้เกี่ยวกับอะไร)
- อยู่ในรูปของ Actor, Process, Goal Subject = Actor, Predicator =
                Process, Object = Goal
1.3 การวิเคราะห์การใช้ภาษา (Pragmatic Analysis)
1.3.1 แยกเนื้อหาหลัก (thematic structure)
1.3.2 วิเคราะห์ลีลาภาษา (register analysis) แบ่งเป็น
   1.3.2.1 Tenor of discourse : ผู้รับสาร—ผู้ส่งสาร โดยใช้ภาษา
   1.3.2.2 Mode of discourse : ประเภทการเขียนที่ใช้
 1.3.2.3 Domain of discourse : ความครอบคลุมของข้อความ
ขั้นตอนที่ 2 การสังเคราะห์ (Synthesis)
          2.1 Pragmatic Synthesis
ใช้ข้อมูล semantic representation เพื่อดูว่าจะรักษาหรือเปลี่ยนแปลง
2.2 Semantic Synthesis
        ดำเนินการสร้างโครงสร้างที่มีเนื้อหาของข้อความ
2.3 Syntactic Synthesis
         2.3.1 ตรวจสอบความเหมาะสมของความหมาย ประเภทของข้อความ            2.3.2 ส่งไปยังระบบการเขียน เพื่อเรียบเรียงข้อความในภาษาแปล
ผลทีได้คือ บทแปลของ clause นั่นเอง
2. รูปแบบกระบวนการแปลของ Daniel Gile (Gile’s Sequential Model of Translation)
        เป็นรูปแบบที่นักแปลอาชีพเปลี่ยนจากภาษาต้นฉบับเป็นฉบับแปล เพื่อฝึกฝนผู้เรียน แบ่งเป็นดังนี้
                  ขั้นตอนที่ 1 ความเข้าใจ (Comprehension)
                      1.1 C = KL + ELK
- C (comprehension) ความเข้าใจ
- KL (knowledge of the language) ความรู้ภาษา
- ELK (extra linguistic knowledge) ความรู้ทั่วไป
     = result of the interaction, addition by interaction
1.2 C = KL + ELK + A
- การวิเคราะห์ต้องทำจนถึงขั้นเข้าใจความหมายอย่างถ่องแท้
ขั้นตอนที่ 2 การสร้างใหม่ (Reformulation)
          2.1 มั่นใจในความหมายของ Translation Unit
          2.2 แปลออกมาเป็นภาษาฉบับแปล พร้อมด้วยความรู้ทั่วไป
                (extra linguistic knowledge)
          2.3 ตรวจสอบว่าบทแปลถูกต้องหรือไม่ (faithful or fidelity)
          2.4 ไม่พอใจ = แปล Translation unit ใหม่
          2.5 พอใจ = ตรวจสอบด้านการยอมรับ (acceptability)
          2.6 ตรวจสอบด้านความถูกต้อง (plausibility)
กระบวนการแปล (Process of Translating) ที่ดี เราจะต้องมีความพยายามในการทำความเข้าใจ พยายามจับหลักการต่าง ๆ  ให้ได้ เพื่อที่จะได้เข้าใจในเรื่องของการแปลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้องถ่องแท้ เมื่อเราเข้าใจในการใช้กระบวนการแปลอย่างถูกต้องแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะประยุกต์กระบวนการแปล (Application of Translation Process) กันแล้ว
                   ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ต้นฉบับ (Analyzing)
                             - วิเคราะห์เป็นหน่วย
                             - แบ่งต้นฉบับออกเป็น Translation Unit (TU) หรือ Unit of Translation (UT)
                             - Translation Unit คือ
                                      - หน่วยที่เล็กที่สุด
                                      - มีตั้งแต่ระดับคำถึงประโยค และมักจะมีระดับเป็น clause
                                      - แบ่งตามหน่วยทางไวยากรณ์ (structure unit) และรูปแบบ (form) เป็น phrase
                   ขั้นตอนที่ 2 การแปลต้นร่าง (Drafting)
                             2.1 Finding equivalence at word and phrase level
                                      เป็นการหาคำที่มีความหมายเหมือนต้นฉบับ โดยใช้วิธี componential analysis.
                             (การวิเคราะห์รายละเอียดความหมายของคำ)
                             2.2 Finding equivalence at the level of grammar
                                      เป็นกฎที่ควบคุมโครงสร้างต่าง ๆ  ประกอบด้วย
                                                - morphology โครงสร้างองค์ประกอบของคำ
                                                - syntax กฎเกณฑ์ในการเรียบเรียงกลุ่มคำ, อนุประโยค (clause) และประโยค
                             2.3 Finding equivalence at the level of text
                                      2.3.1 Reference การใช้กลุ่มคำที่อ้างอิงถึงสิ่งเดียวกัน (co-reference)
                                      2.3.2 Substitution การแทนด้วยคำอื่น
                                      2.3.3 Ellipsis การละคำที่มีอยู่แล้ว
                             2.4 Conjunction
                                      ได้แก่ เครื่องหมาย (punctuation)
                   ขั้นตอนที่ 3 การปรับแก้ไข (Revising)
                             3.1 เมื่อแปลทั้งหมดเสร็จแล้ว
                             3.2 ตรวจสอบแก้ไชข้อผิด ข้อบกพร่องต่าง ๆ
                             3.3 ผละออกจากต้นฉบับสักครู่ แล้วกลับมาอ่าน แก้ไขงานแปลอีกครั้งในภาพรวม
                             3.4 บรรณาธิการ (editor) จะแก้ไขในขั้นตอนสุดท้าย
          โดยนักแปลที่ดีนั้น จะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
·       ผู้แปลต้องเข้าใจนัย (sense) และความหมาย (meaning) ของผู้เขียนต้นฉบับเป็นอย่างดีว่าผู้เขียนมีจุดประสงค์อย่างไร ต้องการจะให้อะไรกับผู้อ่าน เพื่อจะได้ถ่ายทอดจุดประสงค์นั้น ๆ ไปยังผู้อ่านฉบับแปลได้ถูกต้อง
·       ผู้แปลต้องมีความรู้ทั้งภาษาต้นฉบับและภาษาฉบับแปลอย่างดีเยี่ยม เพื่อจะให้แปลได้อย่างถูกต้อง
·       ผู้แปลควรพยายามเลี่ยงการแปลคำต่อคำอย่างที่สุด มิฉะนั้นจะทำให้ผู้อ่านฉบับแปลไม่สามารถเข้าใจฉบับแปลได้
·       ผู้แปลควรใช้รูปแบบของภาษาที่เป็นมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับ และใช้กันทั่วไป ไม่ใช่คิดคำสแลงใหม่ ๆ ขึ้น หรือใช้คำที่ไม่สุภาพไม่เป็นที่นิยม
·       ผู้แปลต้องรู้จักเลือกใช้ถ้อยคำสำนวนที่เหมาะสม ให้ถูกต้องกับความหมายตามต้นฉบับและรักษาบรรยากาศ (tone) ของต้นฉบับไว้
          ภาษาอังกฤษยิ่งทบทวีความสำคัญและความจำเป็นมากขึ้น คงถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีการวางแผนและเตรียมพร้อมพัฒนาเด็ก เยาวชน และคนไทยให้มีคุณภาพและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่สังคมคาดหวัง  ครูผู้สอนซึ่งเป็นบุคลากรสำคัญในการถ่ายทอดความรู้เพื่อพัฒนาสังคม ต้องมีการปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน  ใฝ่ศึกษาเรียนรู้ตลอดเวลา  แสวงหาเทคนิควิธีสอนใหม่ๆ  เพื่อสร้างบรรยากาศและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย และผู้บริหารต้องให้ความสำคัญพร้อมสนับสนุนกระบวนการจัดการเรียนการสอนในการเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ กระตุ้นให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของภาษาประจำชาติและภาษาต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการแสวงหาความรู้ในสังคมและเวทีโลกต่อไป

https://khumpech2501.wordpress.com/2012/07/07/การแปล-1

No comments:

Post a Comment