▂▃▅▆█♫ WELCOME to TRANSLATION™ (1103301) : การแปล 1.♫◤ยินดีต้อนรับเข้าสู่ TRANSLATION™ (1103301) : การแปล 1.◥ ...♥Miss You So Much♥ ...█▆▅▃▂

Friday, September 18, 2015

Learning Log : 1st September, 2015.

SUKSAN CHAIRAKSA NO.5681114011
ENGLISH MAJOR ’01, FACULTY OF EDUCATION.
NSTRU

Learning Log
 1st September, 2015.

          ภาษาอังกฤษปัจจุบันคือภาษานานาชาติ เป็นภาษากลางของโลก ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ไม่ว่าแต่ละคนจะใช้ภาษาอะไรเป็นภาษาประจำชาติ เมื่อต้องติดต่อกับคนอื่นที่ต่างภาษาต่างวัฒนธรรมกันทุกคนจำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้ทุกชาติทุกภาษาจึงบรรจุวิชาภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองรองลงมาจากภาษาประจำชาติ เป็นแกนหลักของหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ปฐมวัยไปจนถึงการศึกษาตลอดชีวิต และเมื่ออาเซียนกำหนดให้ภาษาอังกฤษเป็น “working language” “ภาษาทำงาน” ของทุกคนในอาเซียนหมายความว่า ทุกคนที่ “ทำงานเกี่ยวกับอาเซียน”, “ทำงานในอาเซียน”, ทำงานร่วมกับเพื่อนอาเซียน”, “มีเครือข่ายประชาสังคมอาเซียน”, “แสวงหาโอกาสทางการศึกษาในอาเซียน”, “มีเพื่อนในอาเซียน” และ “เดินทางท่องเที่ยวในอาเซียน” ทุกคนจำเป็นต้องเรียนรู้และใช้ภาษาอังกฤษ ในการพัฒนาตนเอง เตรียมพร้อมด้านภาษา จะเห็นได้ว่าความจำเป็นในการฝึกฝนภาษาอังกฤษจากสื่อโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากแหล่งเรียนรู้ใน internet จึงเป็นเสมือนแหล่งขุมทรัพย์แห่งการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้ผู้สนใจได้ฝึกทักษะการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารทั้งด้านฟัง พูด อ่าน และเขียน และฝึกในบริบทที่มีความหลากหลาย สามารถเลือกเนื้อหาได้ตามความสนใจได้อีกด้วย
          การอ่านก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่จะฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษให้ดีขึ้น วิธีพัฒนาการอ่าน ทำตามนี้ ทุกๆ วัน และทำเป็นประจำ ก็สามารถที่จะอ่านภาษาอังกฤษคล่องขึ้นอย่างแน่นอน
                   1. อ่านหลากหลายรูปแบบ
ก่อนอื่นถ้าอยากเป็นนักอ่านภาษาอังกฤษที่เก่ง ต้องปรับทัศนคติในเรื่อง "สื่อ" ก่อน ต้องเปิดใจอ่านสื่อให้ได้ทุกประเภท สื่อภาษาอังกฤษที่มีอยู่ในไทยมีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ นิตยสาร/วารสารภาษาอังกฤษ โบรชัวร์ภาษาอังกฤษ หรือเว็บไซต์-บล็อค-ข่าว จากเว็บนอก ทุกสื่อคือแหล่งเรียนรู้ชั้นเยี่ยมเลยก็ว่าได้ นอกจากสื่อแล้ว "เรื่อง"ที่จะอ่านก็เลือกได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแนวไหนก็ให้ความรู้เราได้ทั้งนั้น จะนิยาย บทความ คอลัมน์ ข่าว หรือแม้กระทั่งพวกประกาศต่างๆ งานเขียนแต่ละประเภทจะมีคลังศัพท์ที่ใช้ต่างกัน ก็เหมือนภาษาไทยนั่นเอง ภาษาข่าวเป็นแบบหนึ่ง นิยายก็ใช้ภาษาที่ให้อรรถรสอีกแบบหนึ่ง ดังนั้น พยายามฝึกตัวเองให้เข้าหาสื่อและเข้าถึงทุกกลุ่มประเภทของงานเขียน อันไหนที่ไม่ชอบในช่วงแรกก็อ่านน้อย แล้วค่อยๆ ฝึกตัวเองต่อไป สิ่งเหล่านี้จะช่วยฝึกความเร็วในการอ่าน และจะทำให้เราชินกับสำนวนภาษาอังกฤษที่ใช้ในงานเขียนแต่ละประเภทด้วย ถ้าเราเข้าใจหลักการเบื้องต้นตรงนี้ ทำให้เข้าใจเนื้อหาได้ไม่ยากอย่างแน่นอน
                    

 2. สงสัยให้หาคำตอบ
ในช่วงแรกๆ ที่ฝึกอ่าน ปัญหาเกิดขึ้นมากมายแน่นอน เช่น เราอาจจะสงสัยว่าทำไมเค้าถึงใช้ประโยคแบบนี้ ประโยคแบบนี้ไม่เคยเห็นมาก่อน มันแปลว่าอะไร รวมถึงไวยากรณ์ต่างๆ ที่เราไม่เข้าใจและทำให้เราแปลไม่ออกทั้งเรื่อง ความสงสัยตรงนี้ ให้โน้ตย่อออกมา เช่น สงสัยเรื่องรูปประโยคว่ามีรูปประโยคแบบนี้ด้วย หรือ ประโยคนี้เป็นสำนวนหรือเปล่า เป็นต้น หลังจากนั้นก็ค่อยไปหาคำตอบกัน จะค้นหาจากอินเทอร์เน็ต หรือไปถามอาจารย์ฝรั่งที่โรงเรียนของเราก็ได้ ความสงสัยเป็นประตูไปสู่การเรียนรู้ แล้วที่สำคัญเมื่อเราหาคำตอบในเรื่องที่สงสัยได้แล้ว เฉลยอันนั้นจะอยู่ในความจำเราได้นานเลยทีเดียว
                   3. ขยันเปิด Dictionary
เชื่อว่าเวลาไปอ่านงานเขียนทุกประเภทเราจะต้องเจอศัพท์ที่ไม่รู้ความหมายเกือบทุกบรรทัด อยู่ที่ว่าเราจะปล่อยคำศัพท์นั้นไปแล้วดูบริบทรอบๆ เพื่อหาความหมายคร่าวๆ หรือเราจะเอาคำศัพท์ที่ไม่รู้มาหาความหมายสำหรับมือใหม่ ช่วงแรกให้เราขยันเปิดดิคชันนารีดีกว่า เพื่อฝึกนิสัยการค้นคว้าเบื้องต้น เนื่องจากคำศัพท์คำนึงมีได้หลายความหมาย การที่เราได้ไปเห็นด้วยตาตัวเองว่าคำๆ นี้มีความหมายอย่างอื่นได้ด้วย และถ้าเราจำได้เมื่อเราเจอคำนี้อีกครั้งนึง ก็จะสามารถประยุกต์ความหมายมาใช้ได้ด้วย ฝึกเปิดดิคชันนารีไปเรื่อยๆ จนรู้สึกว่าเราค่อนข้างคล่องเรื่องคำศัพท์ โดยประเมินจากการที่เรารู้สึกว่าอ่านภาษาอังกฤษอย่างรู้ความหมายได้นานขึ้น เช่น ทุกๆ 1 บรรทัดจะมีคำที่ไม่รู้ความหมาย 1 คำ เป็น ทุกๆ 2-3 บรรทัด มีคำศัพท์ที่ไม่รู้คำศัพท์คำเดียว เป็นต้น
                   4. สร้างคลังคำของตัวเอง
ให้จัดระบบคำศัพท์เพื่อให้ง่ายต่อการนำมาใช้ เรียกว่าเป็น คลังศัพท์ส่วนตัว วิธีการง่ายๆ คือ ช่วงที่เรากำลังฝึกหาคำศัพท์ในข้อ 3 อยู่ ให้จดคำศัพท์นั้นไว้ในสมุด 1 หน้า (คำละหน้า) จากนั้นให้ทำซัก 2 ตารางในหน้านั้น เพื่อหาคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
 - หาคำศัพท์ที่มีความหมายเหมือนกัน หรือ ใกล้เคียงกัน เช่น ไม่รู้คำว่า clever พอหาความหมายมาแปลได้ว่า "ฉลาด" ก็มาหาคำที่มีความหมายเหมือน เช่น bright, intelligent, brainy เป็นต้น
- หาคำศัพท์ที่มีความหมายตรงกันข้าม เมื่อได้คำว่าฉลาดไปแล้ว ก็มาหาคำที่มีความหมายว่า "โง่" กันบ้าง เช่น  silly, stupid เป็นต้น
- หรือใครที่อยากเชื่อมโยงอะไรเข้ามาอีกก็สามารถทำได้ เช่น การผันคำ ผันเทนส์ เป็นต้น ลองคิดดูว่าถ้าทำได้จนเต็ม 1 เล่ม ก็จะได้คลังศัพท์ที่มีประสิทธิภาพมากๆ
5. ฝึกอ่านทุกวัน
ข้อนี้สำคัญมาก ทุกข้อที่แนะนำมา ฝึกทุกวันให้เป็นนิสัย โดยอาจจะแบ่งเวลาในช่วงก่อนนอน วันละประมาณ 30 นาที ช่วงไหนว่างๆ ก็อ่านจนกว่าจะเบื่อไปเลย เชื่อว่าถ้าทำติดต่อกันซัก 3 เดือน  จากที่อ่านติดๆ ขัดๆ แปลไม่ได้ อ่านไม่ออก เราจะอ่านคล่องขึ้นและแปลได้(เบื้องต้นถึงระดับกลาง) อย่างน่าตกใจ

6. ค่อยๆ ไต่ระดับความยาก ฝึกนิสัยไปในตัว
การที่เราจะพัฒนาในแต่ละเรื่องได้เราต้องไม่ย่ำอยู่กับที่ เช่น ถ้าเราเรียนอยู่เฉพาะหนังสือ ป.1 เป็นเวลา 10 ปี เราก็ไม่มีทางที่จะรู้สิ่งที่ ป.2 เรียนเลย การอ่านภาษาอังกฤษก็เหมือนกัน แรกๆ เราอ่านพวกเรื่องสั้นเบสิคๆ ที่คำศัพท์ไม่ยาก อ่านจนรู้สึกว่าเราผ่านมันได้แล้วก็ลองเอาเรื่องที่ยากขึ้นมา และยากขึ้นเรื่อยๆ หรือ อ่านหนังสือ พ็อคเกตบุ๊คของเมืองนอกไปเลยก็ได้
           ร้านหนังสือในประเทศไทยมีหลายร้านที่ขายหนังสือต่างประเทศ เมื่อเราอ่านสิ่งที่ยากขึ้น ตรงไหนที่เราสงสัย อยากรู้คำศัพท์ก็ย้อนกลับไปทำตามวิธีที่ 1-4 ได้เลย ขั้นตอนที่กล่าวมาทั้งหมดอาจจะดูไม่เยอะ แต่ถึงเวลาลงมือทำจริง ก็จะวัดว่าเรามีความพยายามมากแค่ไหน มีความอดทนพอมั้ย เอาชนะใจตัวเองได้หรือเปล่า เป็นต้น ผมว่าในโลกนี้ไม่มีคอร์สไหนที่ทำให้เราอ่านภาษาอังกฤษได้ดีไปกว่าการฝึกฝนด้วยตนเองแล้วครับ (ถึงไปเรียนมาสุดท้ายก็ต้องฝึกเองอยู่ดี) ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางที่ใช้ติดต่อสื่อสาร และยังเป็นภาษาที่ใช้ในการทำงาน เมื่อเราต้องติดต่อกับคนต่างวัฒนธรรม ภาษาอังกฤษถูกนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน และจะมีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับการทำงานที่คนทั้งโลกต้องมาติดต่อสื่อสารกัน ธุรกิจสามารถเดินหน้าไปได้อย่างราบรื่น เมื่อทุกคนสามารถเข้าใจในสิ่งที่อีกคนหนึ่งพูดถึง ขอเพียงมีความมุ่งมั่น ไม่มีข้ออ้างที่จะไม่เรียนภาษาอังกฤษกันอีกแล้ว

http://www.dek-d.com/education/31069/
http://piyawong.blogspot.com/2013/03/blog-post.html
http://th.jobsdb.com/th-th/articles/ภาษาอังกฤษสำคัญอย่างไร
SUKSAN CHAIRAKSA NO.5681114011
ENGLISH MAJOR ’01, FACULTY OF EDUCATION.

NSTRU

No comments:

Post a Comment