SUKSAN CHAIRAKSA NO.5681114011
ENGLISH MAJOR ’01, FACULTY OF EDUCATION.
NSTRU
การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ และ Noun Clause
6th
October, 2015.
ภาษาอังกฤษได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตของคนไทย
และคนทั่วโลกไปแล้ว มนุษยชาติทุกวันนี้สื่อสารกันด้วยภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสารกันโดยตรง
การใช้อินเตอร์เน็ต การดูทีวี การดูภาพยนตร์ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หนังสือคู่มือทางด้านวิชาการต่างๆ
ฯลฯ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาออกมาในปัจจุบัน
ถ้ามีความรู้ภาษาอังกฤษทั้งพูดและเขียนเสริมเข้าไปด้วยอีก โอกาสที่จะหางานก็จะไม่จำกัดแค่ในประเทศไทย
เท่านั้น ถ้าเราเป็นคนหนึ่งที่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ คงจะไม่ปฏิเสธได้ถึงสิทธิพิเศษที่มีเหนือคนอื่นที่ไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้
ด้วยเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ทำให้โลกของเราแคบลงไป ทุกวันนี้เราสามารถรับรู้ข่าวสาร
หรือติดต่อกับเพื่อนต่างชาติได้ภายในเสี้ยววินาที เราจะไม่เข้าถึงสิทธิพิเศษเหล่านี้เลย
ถ้าไม่รู้ภาษาอังกฤษ ระบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนของไทยหลายคนอาจจะบอกว่า
ประเทศไทยเราก็ให้ความสำคัญกับการเรียนภาษาอังกฤษมาตั้งนานแล้ว
ถูกต้องแล้วสำหรับสิ่งที่คิดมา เพราะภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลของโลกไปเสียแล้ว
ยิ่งเราในฐานะนักศึกษาครุศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษ
ก็ต้องมีการขวนขวายพัฒนาการอยู่ตลอดเวลา ให้ความสำคัญกับภาษาอังกฤษให้มากยิ่งขึ้น
หมั่นหาความรู้อยู่เสมอๆ ไม่ว่าจะเป็นในห้องเรียนหรือนอกห้องเรียน
การเรียนการสอนภาษาอังกฤษก็เช่นกัน เราต้องมีการใช้ ประเมิน
ปรับปรุงอยู่อย่างสม่ำเสมอ ทำให้การเรียนการสอนของเรามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ซึ่งมีวิธีต่างๆ มากมาย ดังนี้
-
Input
hypothesis
Stephen
Krashen ได้ตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับการรับรู้ภาษาไว้ (language
acquisition hypothesis) 5 สมมุติฐานดังนี้
1. The
acquisition –learning Hypothesis
2. The
natural order Hypothesis
3. The
monitor Hypothesis
4. The
affective filter Hypothesis
5. The input
Hypothesis
ข้อที่ 5 เป็นเรื่องที่น่าสนใจในการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภาษาที่สอง
เพราะเราต้องการตอบคำถามที่ว่า
มนุษย์รับรู้ภาษาได้อย่างไร เราอาจจะตอบง่ายๆ ว่า
เรารับรู้ภาษาจากสิ่งที่ป้อนเข้าไปที่สามารถเข้าใจได้ (Comprehensible
input) โดยให้ความสำคัญกับเนื้อข้อความ (Message) มากกว่ารูปแบบ (Form) สมมุติฐานนี้ใช้ได้ดีทั้งเด็กและผู้ใหญ่
อาจจะอ้างว่าการฟังเพื่อความเข้าใจมีความสำคัญในระดับแรกในการรับรู้ภาษา
แล้วการพูดก็จะตามมา
การรับรู้จะถูกนำมาใช้เมื่อเราพูดคุยกับผู้ที่ต้องการรับรู้ภาษาเหมือนกัน
และเขาเข้าใจข้อความและเมื่อสิ่งที่ป้อนเข้าไปที่เขาเข้าใจได้ (Comprehensible
input) ซึ่งความสามารถในการพูดก็จะตามมาเมื่อถึงเวลา
- i+1 =
Comprehensible input
Stephen Krashen
กล่าวว่าผู้สอนต้องจัดสภาพแวดล้อมและสื่อต่างๆ
เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจสิ่งที่ป้อนเข้าไป (input) เป็นการพัฒนาผู้เรียนจาก
i ไปสู่ i +1 หมายความว่าพัฒนาจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว
ซึ่งเป็นการเรียนรู้โดยใช้ความรู้ต่างๆ จากในหนังสือ ความรู้รอบตัวและบริบทต่างๆ
เพื่อช่วยให้เข้าใจ โดยเฉพาะครู พ่อแม่ สามารถทำให้สิ่งที่ป้อนให้เด็กนั้นง่ายลง
- Output
ผลงานหรือผลิตผล
ซึ่งเป็นองค์ประกอบสุดท้ายของระบบ หมายถึง ความสำเร็จในลักษณะต่าง ๆ
ที่มีประสิทธิภาพ หรือประสิทธิผล ในระบบการศึกษา ได้แก่
นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในลักษณะต่าง ๆ หรือนักเรียนที่มีความรู้
ความสามารถที่จะดำรงชีวิตในอนาคตได้ตามอัตถภาพ เป็นต้น
- Acquisition
การได้มาซึ่งภาษา
(language
acquisition) ซึ่งหากจะใช้คำอื่นก็คงเทียบได้กับคำว่า “การรู้ภาษา”
หรือ “การเกิดภาษา” หมายถึง
กระบวนการที่บุคคลคนหนึ่งเรียนรู้และพัฒนาความเข้าใจภาษาแม่ ทั้งในเรื่องเสียงและโครงสร้างไวยากรณ์
กระทั่งสามารถที่จะใช้ภาษาในการสื่อสารได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่นๆ ในสังคม
- Fluency
ความคิดคล่องแคล่ว
หมายถึง ปริมาณความคิดที่ไม่ซ้ำกันในเรื่องเดียวกัน โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. ด้านถ้อยคำ (Word Fluency) เป็นความสามารถในการใช้ถ้อยคำอย่างคล่องแคล่ว
2. ด้านการโยงสัมพันธ์ (Associational Fluency) เป็นความสามารถที่จะคิดหาถ้อยคำที่เหมือนกันได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ภายในเวลาที่กำหนด
3. ด้านการแสดงออก (Expression Fluency) เป็นความสามารถในการใช้วลีหรือประโยค
กล่าวคือ สามารถที่จะนำคำมาเรียงกันอย่างรวดเร็วเพื่อให้ได้ประโยคที่ต้องการ
4. ด้านการคิด (Ideational Fluency) เป็นความสามารถที่จะคิดค้นสิ่งที่ต้องการภายในเวลาที่กำหนด
เช่น ใช้คิดหาประโยชน์ของก้อนอิฐให้ได้มากที่สุดภายในเวลาที่กำหนดซึ่งอาจเป็น 5
นาที หรือ 10 นาที
สำหรับในด้านของวิชาการนั้นก็มีเรื่องที่สำคัญอยู่เหมือนกัน
ก็คือหลักไวยากรณ์นั่นเอง เราต้องทำความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้
เพราะจะทำให้เราสามารถใช้ภาษาได้อย่างคล่องแคล่วมากยิ่งขึ้น อย่างเช่นเรื่อง Noun
Clause
Noun Clause หมายถึง อนุประโยคที่ทำหน้าที่เสมือนกับเป็นคำนามคำหนึ่ง
ซึ่งอาจเป็นประธานหรือกรรมก็ได้ วิธีที่จะสังเกตว่า Clause ใดเป็น
Noun Clause นั้น ให้สังเกตดังนี้ คือ
1. มักจะขึ้นต้นประโยคด้วย that ซึ่งแปลว่า
"ว่า"
2. มักจะขึ้นต้นประโยคด้วยคำที่แสดงคำถาม คือ how, what, which,
where, when, why, who, whose, whom
ตัวอย่างเช่น
I don’t know
how he did it.
ผมไม่รู้ว่าเขาทำมันได้อย่างไร
What you
want is in the bag.
สิ่งที่คุณต้องการอยู่ในถุงนี้แล้ว
Who she is
still a question.
หล่อนเป็นใครยังเป็นคำถามอยู่
He said that
he knew you.
เขาพูดว่า
เขารู้จักคุณ
หน้าที่ของ
Noun
Clause
Noun Clause เมื่อนำมาใช้อย่างนาม หรือเสมือนเป็นคำนาม ก็ทำหน้าที่ได้เช่นเดียวกับคำนามทั่วๆ
ไปคือ
1. เป็นประธาน (Subject) ของกริยา (Verb) เช่น
What she is
doing seems very difficult.
สิ่งที่หล่อนกำลังทำอยู่
ดูเหมือนว่ายากมาก
(What she is
doing เป็นประธานของกริยา seems)
2. เป็นกรรม (Object) ของกริยา เช่น
I want to
know where she lives.
ผมอยากรู้ว่าหล่อนอยู่ที่ไหน
(Where she
lives เป็นกรรมของกริยา know)
3. เป็นกรรม (Object) ของบุรพบท (Preposition) เช่น
Wan laughed
at what you said.
วรรณหัวเราะเยาะสิ่งที่คุณพูด
(What you
said เป็นกรรมของ at)
4. เป็นส่วนสมบูรณ์ (Complement) ของกริยา เช่น
This is what
you want.
นี้คือสิ่งที่คุณต้องการ
(What you
want เป็นส่วนสมบูรณ์ของกริยา is)
5. เป็นคำซ้อนของนามตัวอื่น (Appositive) เช่น
His belief
that coffee will keep him alert is incorrect.
ความเชื่อของเขาที่ว่า
กาแฟจะทำให้เขาตื่นอยู่เสมอนั้นไม่ถูกต้อง
(that coffee
will keep him alert เป็นคำซ้อนของ belief)
การละ
that
ในประโยค Noun Clause
ประโยค
Noun
Clause ที่ขึ้นต้นด้วย that นั้น
ถ้าเป็นภาษาธรรมดา (Informal) โดยเฉพาะภาษาพูดแล้วเรามักจะละ
that เสมอ เช่น
He says coffee
grows in Brazil. (He says that coffee grows in Brazil.)
เขาพูดว่า
กาแฟปลูกในประเทศบราซิล
ข้อยกเว้น
: แต่ในกรณีต่อไปนี้ ประโยค Noun Clause จะต้องใช้ that เสมอ จะละไปไม่ได้ นั่นคือ
1. เมื่อ that-clause ขึ้นต้นประโยค ต้องใส่ that
เสมอ เช่น
That coffee grows
in Brazil is true.
ที่ว่ากาแฟปลูกในประเทศบราซิลนั้นเป็นความจริง
2. เมื่อ that-clause เป็นคำซ้อนนามที่อยู่ข้างหน้ามัน
(Appositive) ต้องใส่ that เสมอ เช่น
The news that he was
murderer is not true.
ข่าวว่าที่เขาเป็นฆาตกรนั้นไม่เป็นความจริงเลย
3. เมื่อ that-clause อยู่หลัง It is (หรือ It was) ต้องใส่ that เสมอ
เช่น
It is true
that earth moves round the sun.
เป็นความจริงที่ว่าโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์
การเป็นนักศึกษาไม่ใช่เรื่องง่ายๆ
และก็ไม่ใช่เรื่องยาก หากเรามีความพยายามในการเรียนการสอนของเรา เราต้องมีความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน
เป็นนักศึกษาให้เต็มความสามารถ เก่งในหลักการเรียนการสอน
รวมทั้งทางด้านวิชาการของภาษาอังกฤษ
สิ่งเหล่านี้จะทำให้เราไปสู่ฝั่งฝันอย่างเต็มประสิทธิภาพได้อย่างภาคภูมิใจ
https://www.l3nr.org/posts/18771
https://www.gotoknow.org/posts/203450/
https://www.gotoknow.org/posts/443263/
https://sites.google.com/site/rianrulanguages/vocabularies/
http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?id=57211/
http://www.novabizz.com/NovaAce/Intelligence/ทฤษฎีระบบ.html/
http://www.nana-bio.com/Research/image%20research/research%20work/ceative%20thinking/creative%20thinking04.html/
https://sites.google.com/site/krujitpisut/khwam-sakhay-khxng-phasa-xangkvs/
SUKSAN CHAIRAKSA NO.5681114011
ENGLISH MAJOR ’01, FACULTY OF EDUCATION.
NSTRU
No comments:
Post a Comment