▂▃▅▆█♫ WELCOME to TRANSLATION™ (1103301) : การแปล 1.♫◤ยินดีต้อนรับเข้าสู่ TRANSLATION™ (1103301) : การแปล 1.◥ ...♥Miss You So Much♥ ...█▆▅▃▂

Tuesday, May 31, 2016

การแปลบันเทิงคดี

SUKSAN CHAIRAKSA NO.5681114011
ENGLISH MAJOR ’01, FACULTY OF EDUCATION.
NSTRU


การแปลบันเทิงคดี

          ภาษาอังกฤษได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตของคนไทย และคนทั่วโลกไปแล้ว มนุษยชาติทุกวันนี้สื่อสารกันด้วยภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสารกันโดยตรง การใช้อินเตอร์เน็ต การดูทีวี การดูภาพยนตร์ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หนังสือคู่มือทางด้านวิชาการต่างๆ ฯลฯ บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาออกมาในปัจจุบัน ถ้ามีความรู้ภาษาอังกฤษทั้งพูดและเขียนเสริมเข้าไปด้วยอีก โอกาสที่จะหางานก็จะไม่จำกัดแค่ในประเทศไทย เท่านั้น ถ้าเราเป็นคนหนึ่งที่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ เราคงจะไม่ปฏิเสธได้ถึงสิทธิพิเศษที่เรามีเหนือคนอื่นที่ไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ ซึ่งเราก็ต้องมีความมุ่งมั่นในการเรียน โดยเฉพาะนักศึกษาคณะครุศาสตร์ต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการแปล
          โดยเฉพาะในเรื่องของการแปลบันเทิงคดีเป็นงานเขียนที่ไม่อยู่ในงานวิชาการและสารคดี เช่น นิทาน นวนิยาย เรื่องสั้น บทกวี ฯลฯ เป็นงานรูปแบบหนึ่งที่ว่าด้วยสารสนเทศหรือเหตุการณ์ซึ่งมิใช่ข้อเท็จจริง แต่เป็นจินตนาการหรือทฤษฎีบางส่วนหรือทั้งหมด กล่าวคือ เป็นงานที่ผู้ประพันธ์แต่งขึ้น แม้บันเทิงคดีจะใช้หมายถึงสาขาหลักของงานวรรณกรรมอย่างหนึ่ง แต่ยังอาจหมายถึง งานละคร ภาพยนตร์หรือดนตรีด้วย บันเทิงคดีตรงข้ามกับสารคดี ซึ่งว่าด้วยเหตุการณ์ คำอธิบาย การสังเกตที่เป็นจริง (หรืออย่างน้อย ที่สันนิษฐานว่าเป็นจริง) เช่น ชีวประวัติ ประวัติศาสตร์
1. องค์ประกอบของงานเขียนแบบบันเทิงคดี
·       สารคดีแตกต่างจากบันเทิงคดีเนื้อหานำเสนอสาระจริง แต่บันเทิงคดีให้ความบันเทิง มีสาระ อาศัยจินตนาการของผู้ประพันธ์ล้วนๆ
·       องค์ประกอบสำคัญ 2 ประการ คือ ด้านภาษา (language element) และไม่ใช่ภาษา
(non-language element) (อารมณ์และท่วงทำนอง)
2. องค์ประกอบด้านภาษา
        2.1 ความหมายแฝง (connotation)
·       ประกอบด้วยคำศัพท์ที่มีความหมายตรงตัว หรือตามตัวอักษร (denotation) เช่น ไก่ = หญิงสาวอ่อนต่อโลก
·       ผู้แปลต้องให้ความใส่ใจต่อคำศัพท์ทุกตัว ต้องพิจารณาคำศัพท์ไปทีละตัว
        2.2 ภาษาเฉพาะวรรณกรรมหรือโวหารภาพพจน์
·       เป็นรูปแบบเฉพาะที่ใช้ในบันเทิงคดี
·       เป็นการสะท้อนวัฒนธรรมต่าง ๆ เช่น
                   2.2.1 รูปแบบของโวหารอุปมาอุปไมย (simile)
·       Simile เป็นการ"เปรียบเหมือน"
·       คือ การสร้างภาพพจน์โดยใช้กลวิธีเปรียบเทียบเพื่อชี้แจง เช่น ดัง ดั่ง.
                             The soldier is as brave as a lion.
                             โวหารทั้งในไทยและอังกฤษมักเกี่ยวกับการเปรียบเทียบทั้งสองประเภท
                   2.2.2 รูปแบบของโวหารอุปลักษณ์ (metaphor)
·       Metaphor เป็นการ"เปรียบเป็น"
·       เป็นการเปรียบเทียบความหมายของของสองสิ่งโดยนำความเหมือนและความไม่เหมือนของสิ่งที่จะเปรียบเทียบมากล่าว เช่น เงินตราคือพระเจ้า
·      

สำนวนอุปลักษณ์เกิดจากความสามารถของนักประพันธ์ จึงต่างจาการแปลทั่วไป
                  
                   2.2.3 การแปลโวหารอุปมาอุปไมยและโวหารอุปลักษณ์
                             1. แปลตามตัวอักษร
                               2. ถ้าไม่สำคัญตัดทิ้งได้เลย
                               3. งานเขียนแบบ authoritative text ให้อธิบายความหมายตามเชิงอรรถ
                             4. สืบค้นในงานเขียนต่าง ๆ อาจใช้โวหารคิดใหม่หรือของเดิมก็ได้
          ผู้เรียนแปลต้องหมั่นแปลและขยันหมั่นเพียรในการอ่านหนังสือเก็บรายละเอียดจะได้มีประสบการณ์ในการแปลที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
          สำหรับการเรียนภาษาอังกฤษนั้นเราจะไม่เข้าถึงได้เลย ถ้าเราไม่รู้ภาษาอังกฤษ ระบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนของไทยเราอาจจะบอกว่า ประเทศไทยเราก็ให้ความสำคัญกับการเรียนภาษาอังกฤษมาตั้งนานแล้ว แต่ทำไมคนไทยถึงพูดภาษาอังกฤษสู้คนฟิลิปปินส์ไม่ได้เลย นั่นก็เพราะว่าหลักสูตรภาษาอังกฤษของกระทรวงศึกษาธิการของเรายังไม่ได้เน้นการพูดภาษาอังกฤษ จะเน้นแต่หลักไวยากรณ์ คำแปล และการอ่านเพื่อความเข้าใจและให้สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้เป็นส่วนใหญ่ สิ่งที่จะต้องปรับปรุงอย่างมากในระบบการเรียนภาษาอังกฤษของไทยเราคือ การเน้นการพูดออกเสียง ไม่ว่าจะเป็นการออกเสียงพยัญชนะแต่ละตัว การเน้นเสียงหนักเบา ซึ่งจะต้องมีสื่อช่วยสอนที่เป็นมัลติมีเดีย คือ มีทั้งภาพ เสียง และตัวหนังสือ ให้ด้วย เราจึงควรตระหนักและตั้งใจเรียนวิชาภาษาอังกฤษให้มากยิ่งๆขึ้นไป
https://th.wikipedia.org/wiki/บันเทิงคดี
http://www.engbitbybit.com/2014/08/simile-vs-metaphor.html

No comments:

Post a Comment