▂▃▅▆█♫ WELCOME to TRANSLATION™ (1103301) : การแปล 1.♫◤ยินดีต้อนรับเข้าสู่ TRANSLATION™ (1103301) : การแปล 1.◥ ...♥Miss You So Much♥ ...█▆▅▃▂

Tuesday, May 31, 2016

Text Types

SUKSAN CHAIRAKSA NO.5681114011
ENGLISH MAJOR ’01, FACULTY OF EDUCATION.
NSTRU

Text Types

          ภาษาต่างประเทศนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ดังนั้นการเรียนภาษาต่างประเทศไม่ว่าจะเป็น เรียนภาษาอังกฤษ เรียนภาษาเยอรมัน เรียนภาษาฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นๆนั้นจึงเป็นที่นิยมอย่างมากขึ้นเพราะถ้าหากคุณมีความสามารถในการใช้ภาษาถึงขั้น ทักษะทางภาษาต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นแล้วนั้นนอกจากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการเรียนต่อ และโอกาสในการทำงานที่มากกว่าแล้ว ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เราต้องขยันหมั่นเพียรในการเรียนให้มากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะรายวิชาการแปลในวิชาภาษาอังกฤษ
          วิธีการเรียบเรียงเนื้อหาในการเขียน ซึ่งมีโครงสร้างที่เป็นแบบแผน มีคุณลักษณะและมีองค์ประกอบหลักที่ใช้การเขียนสำหรับรูปแบบ รูปแบบการเขียนมีหลายรูปแบบ แตกต่างกันไปตามจุดประสงค์ของงานเขียน  เหตุผลที่งานเขียนเกิดขึ้นในรูปแบบชนิดต่างๆ เพื่อการดึงดูดความสนใจ หรือให้ความบันเทิง งานเขียนแต่ละชนิด จะมีรูปแบบและ วิธีการนำเสนอแตกต่างกันไปนั่นคือรูปแบบการเขียน
        การเขียนทั่วไป
          1. Descriptive Writing (การเขียนบรรยาย)
·       เป็นการเขียนเล่าเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้น เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพเหตุการณ์ ลำดับเวลา สถานที่ บุคคล ผู้เขียนควรกล่าวถึง เหตุการณ์ให้ชัดเจน โดยมีข้อมูลและเนื้อหาสาระของเรื่องที่จะแสดงความคิด บางครั้งอาจแทรกบทสนทนาตัวละครทำให้ผู้อ่านเข้าใจลักษณะอารมณ์ความคิดของตัวละครและเข้าใจเรื่องทั้งหมด

          2. Narrative Writing (การเขียนเรียงความบรรยาย)
·       เป็นการบรรยายบอกเล่าเรื่องราว วัตถุประสงค์ของการเขียนประเภทนี้คือการนับเป็นประสบการณ์ที่ส่วนบุคคลหรือสมมติหรือเพื่อบอกเล่าเรื่องราวขึ้นอยู่กับเหตุการณ์จริง

          3. Recount (Telling Story) (การเล่าเรื่อง)
·       บอกเรื่องราวต่างๆจากประสบการณ์ เช่น เล่าประวัติ เล่าเหตุการณ์ เล่าประสบการณ์ชีวิต เล่าเรื่องราวตามลำดับเหตุการณ์ บันทึกเหตุการณ์ บันทึกประจำวัน

          4. Discussion (อภิปราย)
·       ถึงความคล้ายคลึงและความแตกต่างของสิ่งสองสิ่งหรือบุคคล ความคิด สถานที่ ฯลฯ อาจเป็นข้อเขียนที่อภิปรายอย่างไม่ลำเอียง หรือจูงใจให้ผู้อ่านเห็นประโยชน์ของฝ่ายหนึ่ง อาจเป็นข้อเขียนง่ายๆที่ทำให้ผู้อ่านสนุกสนาน หรือลงลึกให้หยั่งรู้ถึงธรรมชาติของมนุษย์ ข้อเขียนอาจอภิปรายทั้งความคล้ายคลึงและความแตกต่าง หรืออาจอภิปรายเฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง เช่น ความคล้ายคลึง และความแตกต่างระหว่างเมืองสองเมือง หรือระหว่างบุคคลสองคน

          5. Exposition or Argument (อภิปรายให้เหตุผล)
·       เป็นข้อเขียนที่พยายามโน้มน้าวผู้อ่านให้เห็นด้วยกับความเห็นของผู้เขียน อาจเขียนแบบให้คิดอย่างจริงจังหรือแบบสนุกสนาน แต่ต้องสร้างความเชื่อมั่นต่อความเห็นของผู้เขียน อาจเขียนอย่างตรงไปตรงมาเลย หรือว่าอาจจะค่อยๆ โน้มน้าวโดยอาศัยการใช้คำ

          6. Procedure (อธิบายถึงการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งว่าทำอย่างไร)
·       โดยทั่วไปอธิบายการกระทำที่แสดงออกมาตามลำดับ รูปแบบการเขียนจะเป็นคำและทำเป็นขั้นตอน หรืออาจเขียนในรูปแบบการเล่าเรื่อง พร้อมกับคำแนะนำหรือคำอธิบายเป็นช่วงๆไปโดยตลอด

          7. Information report
·       เป็นการเขียนอธิบายรายงานข้อมูลข่าวสารตามความเป็นจริง

          8. Explanation (การเขียนเรียงความเชิงอธิบาย)
·       มีหลายแนวทางที่ใช้ในการเขียนเรียงความเชิงอธิบาย ทั้งการตรวจสอบหรืออธิบายว่าสิ่งนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร โดยอาศัยความคิดเห็นส่วนบุคคลมากกว่าหลักฐานสนับสนุนความจริงจากบุคคลหรือ องค์กรที่น่าเชื่อถือ จะเป็นการวิเคราะห์และแสดงให้เห็นสภาพความเป็นจริง อธิบายความรู้สึกและวิเคราะห์จากความจริงที่ปรากฏอยู่ อาจใส่ รายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือขั้นตอนที่ทำให้ผู้อ่านเข้าใจในงานเขียนเรา ใช้กราฟ ไดอะแกรม แบบสำรวจและข้อมูลทางสถิติเพื่อสนับสนุนบทสรุปและเหตุผลของเรา

          9. Personal response (การเขียนส่วนตัว)
·       มีรูปแบบการเขียน ได้แก่ อีเมล์ บันทึกส่วนตัว รายการข่าวสาร จดหมาย บันทึกสั้นๆ และบัตรต่างๆ

        การเขียนแบบเฉพาะ
          1. The Personal Letter (การเขียนจดหมายส่วนตัว)
·       การเขียนจดหมายเป็นการสื่อสารโดยตรงระหว่างบุคคลหรือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ช่วย ทำให้ระยะทางไกลเป็นใกล้ เพราะไม่ว่าบุคคลหรือหน่วยงานจะห่างไกลกันแค่ไหนก็สามารถใช้จดหมายส่งข่าว คราวและแจ้งความประสงค์ได้ตามความต้องการ การส่งสารหรือ ข้อความในจดหมายต้องเขียนให้แจ่มแจ้งชัดเจน เพื่อจะได้เข้าใจตรงกันทั้งสองฝ่าย เช่น การเขียนเพื่อแสดงความยินดี

          2. Envelope (การเขียนเพื่อบอกตำแหน่งที่อยู่อาศัย)
·       เช่น การจ่าหน้าซองจดหมาย

          3. The Formal Letter (จดหมายทางราชการทั่วไป)
·       ใช้ในการอธิบายรายละเอียด อาจเป็นจดหมายเกี่ยวกับการทำงาน เป็นจดหมายที่ใช้ภาษาสุภาพ 

          4. Letter to The Editor (การเขียนเชิงบรรณาธิการ)
·       แสดงความคิดเห็นส่วนตัว เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน

          5. Postcard
·       ส่วนใหญ่จะใช้ในการเขียนเล่าถึงการท่องเที่ยว หรือการเดินทาง

          6. Invitation (จดหมายเชิญชวน)
·       เขียนเพื่อเชื้อเชิญบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือเจาะจง

          7. Diary Extract
·       เป็นการเขียนเพื่อจดบันทึกประสบการณ์ของผู้เขียน อาจมีอารมณ์และรูปแบบที่แตกต่างกันไป ตามผู้เขียนแต่ละคน

          8. Interviews/Dialogues (การสัมภาษณ์ หรือการสนทนากลุ่ม)
·       ส่วนใหญ่มักใช่ในงานวิจัย

          9. Script Writing (การเขียนสคริปต์)
·       โดยยึดตามรูปแบบ เพื่อกำหนดสิ่งที่ต้องปฏิบัติ

          10. A Newspaper Report (การเขียนรางานข่าวบนหนังสือพิมพ์)

          11. Feature Article (การเขียนประเภทบทความสารคดี)
·       อาจปรากฏบนนิตยาสาร หนังสือพิมพ์

          12. Pamphlet (แผ่นพับเผ่นปลิว)
·       ใช้สำหรับการโฆษณา ดึงดูดความสนใจ โน้มน้าวผู้อ่าน

          13. Advertising (การโฆษณา)
·       เป็นการเขียนเพื่อโฆษณาสินค้า หรือบริการ เพื่อโน้มน้าวผู้อ่านให้สนใจในโปรโมชั่นของสินค้านั้นๆ

          ภาษาอังกฤษปัจจุบันคือภาษานานาชาติ เป็นภาษากลางของโลก ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ไม่ว่าแต่ละคนจะใช้ภาษาอะไรเป็นภาษาประจำชาติ เมื่อต้องติดต่อกับคนอื่นที่ต่างภาษาต่างวัฒนธรรมกันทุกคนจำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้ทุกชาติทุกภาษาจึงบรรจุวิชาภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองรองลงมาจากภาษาประจำชาติ เป็นแกนหลักของหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ปฐมวัยไปจนถึงการศึกษาตลอดชีวิต


http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=commuram&month=14-08-2008&group=15&gblog=5

No comments:

Post a Comment