▂▃▅▆█♫ WELCOME to TRANSLATION™ (1103301) : การแปล 1.♫◤ยินดีต้อนรับเข้าสู่ TRANSLATION™ (1103301) : การแปล 1.◥ ...♥Miss You So Much♥ ...█▆▅▃▂

Tuesday, May 31, 2016

ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ

SUKSAN CHAIRAKSA NO.5681114011
ENGLISH MAJOR ’01, FACULTY OF EDUCATION.
NSTRU


ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ

          ในมุมมองของผู้คนในแทบทุกส่วนของโลก ความสำคัญของภาษาอังกฤษในฐานะภาษาโลกได้ปรากฏเด่นชัดขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้เนื่องมาจากอิทธิพลทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาพูด ซึ่งดำเนินต่อเนื่องมานานกว่า 200 ปี และสถานะของภาษาอังกฤษก็มั่นคงขึ้นเรื่อย ๆ ตามเวลาที่ผ่านไป ผู้พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่มีอยู่มากถึงประมาณ 300 ล้านคน มีผู้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอีกถึง 300 ล้านคน แล้วยังมีอีกประมาณ 100 ล้านคนที่ใช้ภาษาอังกฤษที่เป็นภาษาต่างประเทศได้อย่างคล่องแคล่ว อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงประมาณการอย่างต่ำเท่านั้น หากเรานับรวมไปถึงผู้ที่มีความคล่องแคล่วต่ำลงไป ผู้ใช้ภาษาอังกฤษจะมีจำนวนรวมถึงกว่าหนึ่งพันล้านคน ฉะนั้นเราจึงควรเร่งเพิ่มทักษะภาษาอังกฤษให้เร็วที่สุดที่จะทำได้
          วัฒนธรรม มาจากคำว่า “ วัฒน ” หมายถึง ความเจริญงอกงาม “ ธรรม ” หมายถึง คุณงามความดีที่เจริญงอกงามอันนำไปสู่วิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างมีแบบแผนในการประพฤติและปฏิบัติ  พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธทรงบัญญัติจากคำภาษาอังกฤษว่า Culture วัฒนธรรมเป็นมรดกของสังคมที่สืบทอดความรู้ความคิดและความเชื่อถือซึ่งเป็นค่านิยมที่ทำให้เกิดความมีระเบียบแบบแผน ความสามัคคีและมีศีลธรรมที่แสดงลักษณะเฉพาะตัวเอาไว้ ที่เรียกว่า เอกลักษณ์
          การเขียนบทแปลที่ดีต้องเขียนด้วย “ภาษาที่เป็นธรรมชาติ” ซึ่งหมายถึงภาษาเขียนภาษาพูดที่คนไทยทั่วไปใช้กันจริงในสังคมไทย ทั้งนี้เพื่อให้คนไทย ผู้อ่านผู้ใช้งานสามารถเข้าใจทันทีไม่มีอุปสรรคในการรับสารที่สื่อจากบทแปล องค์ประกอบที่นักแปลต้องพิจารณาในการเขียนด้วยภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ ได้แก่ องค์ประกอบย่อยของการแปล คือ คำ ความหมาย การสร้างคำ และสำนวนโวหาร ดังนี้
          1. คำและความหมาย
·       คำบางคำมีความหมายแตกต่างกันหลายอย่างมีทั้งความหมายตรงและความหมายแฝง หรือความหมายเชิงเปรียบเทียบ คำบางคำมีความหมายต่างกันไปตามยุคสมัย เช่น ในสมัยก่อนๆมีความหมายอย่างหนึ่งแต่ในปัจจุบันแตกต่างไปอีกอย่างหนึ่ง บางครั้งก็ตรงกันข้ามกัน บางครั้งก็มีความหมายไปในทางที่ดี บางครั้งก็มีความหมายไปในทางที่แย่ลง

2. การสร้างคำกริยา
·       การเสริมท้ายคำกริยา ด้วยคำกริยา ซึ่งบางคนอาจจะเห็นว่าทำให้ภาษายุ่งยาก อย่างไรก็ตามบางครั้งก็ชัดเจนขึ้น ถ้าเราเข้าใจความหมายที่แท้จริงดั้งเดิมของมัน
          3. การเข้าคู่คำ
·       การนำคำหลายคำมาเข้าคู่กันเพื่อให้ได้คำใหม่โดยมีความหมายใหม่หรือมีความหมายคงเดิม

สำนวนโวหาร
          โวหาร หมายถึง ถ้อยคำที่ใช้ในการสื่อสารที่เรียบเรียงเป็นอย่างดี  มีวิธีการ  มีชั้นเชิงและมีศิลปะ  เพื่อสื่อให้ผู้รับสารรับสารได้อย่างแจ่มแจ้ง   ชัดเจนและลึกซึ้ง  รับสารได้ตามวัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร
          ในการแปลขั้นสูงนี้ผู้แปลจักต้องรู้จักสำนวนการเขียน และการใช้โวหารหลายๆแบบ มิฉะนั้นจะทำให้เข้าใจความหมายไม่ชัดเจน บางครั้งอาจเข้าใจผิดเป็นตรงกันข้ามก็ได้ ในหนังสือที่แต่งดี มักจะประกอบด้วยสำนวนโวหารที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
1. ถูกหลักภาษา
·       ไม่ขัดกับหลักไวยากรณ์ ถึงจะพลิกแพลงไม่ตรงไปตามหลักเกณฑ์บ้าง ก็ไม่ถึงกับเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ

          2. ไม่กำกวม
·       สำนวนโวหารที่ดีจะชัดเจน แม่นตรง ไม่ชวนให้เข้าใจเข้าใจไขว้เขว สงสัย

          3. มีชีวิตชีวา
·       ไม่เนิบนาบ เฉื่อยชา ยึดยาด แต่มีชีวิตชีวา เร้าใจ ชวนให้ผู้อ่านรู้สึกกระตือรือร้นอยากอ่านต่อจนจบ

          4. สมเหตุสมผล น่าเชื่อถือ มีเหตุผลรอบคอบ ไม่มีอคติ ไม่สร้างความหลงผิด ให้แก่ผู้อ่าน
·       น่าเชื่อถือ มีเหตุผลรอบคอบ ไม่มีอคติ ไม่สร้างความหลงผิด ให้แก่ผู้อ่าน
         
          5. คมคายแยบแหลม
·       การใช้คำพูดที่เข้มข้น หนักแน่น แฝงข้อคิดที่ฉลาด โดยใช้ถ้อยคำไม่กี่คำ สำนวนแบบนี้มักจะได้แก่สุภาษิต คำพังเพย

          ภาษาอังกฤษได้เริ่มกลายเป็นจุดศูนย์กลางของวิธีที่ผู้คนเรียนรู้ภาษา การเรียนรู้คำ, ความหมายและการใช้คำ ได้รับการยอมรับสูงขึ้นในฐานะของการเรียนรู้ภาษา ไม่ใช่เป็นเพียงกิจกรรมประกอบที่น่ารำคาญหรือไม่เกี่ยวข้อง (กับการเรียนรู้ภาษา) อีกต่อไป ซึ่งเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันสามารถนำมาประยุกต์เพื่อใช้ในการสอนภาษาอังกฤษได้ โดยที่ผู้เรียนสามารถทำการศึกษาได้ด้วยตนเอง อันจะขจัดความไม่สะดวกและการขาดประสิทธิภาพของการเรียนแบบดั้งเดิมไปได้อย่างเป็นที่สิ้นสุด
http://www.ipesp.ac.th/learning/thai/chapter5-10.html
https://mook5013.wordpress.com /บทเรียน/บทที่-๘-ธรรมชาติของภาษา/

No comments:

Post a Comment