▂▃▅▆█♫ WELCOME to TRANSLATION™ (1103301) : การแปล 1.♫◤ยินดีต้อนรับเข้าสู่ TRANSLATION™ (1103301) : การแปล 1.◥ ...♥Miss You So Much♥ ...█▆▅▃▂

Saturday, August 1, 2015

บทที่ 1 : ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล

SUKSAN CHAIRAKSA NO.5681114011
ENGLISH MAJOR ’01, FACULTY OF EDUCATION.
NSTRU

บทที่ 1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล

ความสำคัญของการแปล
- ปัจจุบันมีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสื่อสารเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวาง เนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในการเดินทาง ตลอดจนในการศึกษา
- แสดงให้เห็นว่า ภาษาอังกฤษมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ รวมทั้งเป็นภาษาของการปฏิวัติอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีด้วย จึงมีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการแสดงและอธิบายความหมายเพื่อการโต้ตอบระหว่างมนุษย์ทั่วโลก
- การใช้ภาษาต่างประเทศในหน่วยงานต่าง ๆ ก็เพิ่มขึ้นทุกที่ปรากฏว่า ภาษาอังกฤษมีปริมาณการใช้มากที่สุด เพราะ      1. หน่วยงานต่าง ๆ ได้ขยายปริมาณ
                  2. มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก
                  3. มีตำรา เอกสารภาษาอังกฤษซึ้งเป็นแหล่งวิทยาการหลายสาขา

การแปลในประเทศไทย
- มีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชส่งโกษาปานไปเฝ้าพระเจ้าหลุยส์แห่งประเทศฝรั่งเศส จึงมีการฝึกนักแปลประจำราชสำนัก
- ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการแปลเอกสารต่างๆในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ และมีการสอนภาษาอังกฤษในราชสำนัก
- การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยเริ่มมีบทบาทสำคัญในสังคมไทย ตั้งแต่ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ รวมทั้งความเจริญทางเทคโนโลยี ทำให้ความต้องการด้านการแปลจึงมากขึ้นเป็นลำดับ
- การแปลจะช่วยให้ลดความไม่เข้าใจกันเนื่องจากมีวัฒนธรรมแตกต่างกัน และ สร้างความเข้าใจระหว่างนานาชาติทำให้เกิดสันติภาพในโลก
- งานแปลของไทยมีบริษัทตัวแทนในการค้าขายจากต่างประเทศ มีผู้เชี่ยวชาญ และที่ปรึกษาชาวต่างประเทศในการพัฒนาประเทศ ในด้านต่างๆ ตลอดจนมีการท่องเที่ยวที่นำเงินรายได้ให้กับประเทศ จึงควรมีการแปลงงานทุกอย่างหรือแปลมาเป็นภาษาไทยให้มากที่สุด เพื่อสร้างความเข้าใจอันดี ระหว่างประเทศ ระหว่างประชาชน และระหว่างสังคม ระหว่าง วัฒนธรรม ที่แตกต่างกันของประเทศต่างๆไม่ว่าจะเป็นงาน ด้านวิชาการหรือเรื่องสั้น นวนิยาย วรรณคดี และบทประพันธ์ต่างๆ

การแปลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- ผู้แปลจะต้องเป็นกลุ่มของผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมีนักภาษาด้วย เพื่อป้องกันการใช้ภาษาวิบัติ และพัฒนาภาษาให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่อง
- การแปลมีปัญหาอยู่มาก เนื่องจากขาดความรู้เรื่องพื้นฐานทางวัฒนธรรม
ดังนั้น ผู้แปลจะต้องติดตามวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีตลอดเวลา เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ทันที

การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย
- เป็นการสอนไวยากรณ์และโครงสร้างของภาษา การใช้ภาษา รวมทั้งการอ่านเพื่อความเข้าใจ
- เนื่องจากนักศึกษายังขาดความรู้ในเรื่องเหล่านี้และผู้ที่จะแปลได้ควรจะเป็นผู้ที่มีความรู้ทางภาษาอย่างดีแล้ว ดังนั้น นักศึกษาจะต้องได้รับการฝึกฝนในเรื่องไวยากรณ์และโครงสร้างภาษาอังกฤษอย่างได้ผลจริงๆ ทำความเข้าใจและนำมาใช้ในวิชาเเปล เพราะจะทำให้สามารถอ่านและเขียนภาษาอังกฤษได้ดี ไม่เกิดปัญหาในการอ่านหรือเขียนประโยคบางแบบโดยเฉพาะประโยคที่มีโครงสร้างยากๆหรือยาวๆทั้งในภาษาต้นฉบับและภาษาที่จะใช้แปล

การแปลคืออะไร
- คือการถ่ายทอดความคิดจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง โดยให้มีใจความครบถ้วนสมบูรณ์ตรงตามต้นฉบับทุกประการ ไม่มีการตัดต่อหรือแต่งเติมที่ไม่จำเป็นใด ๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งควรรักษาให้ได้รูปแบบตรงตามต้นฉบับเดิมหากทำได้
- เป็นสิ่งที่ฝึกฝนได้ในขอบเขตหนึ่ง คือ ในส่วนที่เป็นความรู้ทางด้านภาษา
- เป็นเรื่องที่สามารถเรียนรู้และฝึกปฏิบัติได้
- การแปลทางด้านวรรณคดีและการแปลร้อยกรองเป็นศิลปะชั้นสูงที่ต้องอาศัยจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ พรสวรรค์และความสามารถเฉพาะของผู้เรียน

คุณสมบัติของผู้แปล
                - เนื่องจากการแปลเป็นทักษะและศิลปะที่มีขบวนการที่กระทำต่อภาษา ผู้แปลจึงควรมีลักษณะดังนี้
1. เป็นผู้ที่มีความรู้ในภาษาต้นฉบับ และภาษาที่ใช้แปลดี และหมั่นค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ
2. เป็นผู้ที่ชอบค้นคว้าหาความรู้ในวิชาการแขนงอื่น ๆ
3. เป็นผู้ที่มีวิจารณญาณในการแปล
4. เป็นผู้ที่มีใจกว้างพอที่จะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
5. เป็นผู้สามารถอุทิศเวลาการแปลได้อย่างแท้จริง
          - นักแปลที่มีคุณภาพ หมายถึง  นักแปลที่มีความสามารถถ่ายทอดความคิดของต้นฉบับได้อย่างครบถ้วน โดยไม่ขาดหรือเกิน มีความรู้ภาษาของต้นฉบับ และภาษาที่ใช้แปลเป็นอย่างดี จึงควรจะฝึกแปลจากภาษาต่างประเทศมาเป็นภาษาแม่
- ความต้องการของตลาดงานแปลในปัจจุบัน เน้นการแปลข้อความจากภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะจากภาษาอังกฤษมาเป็นภาษาไทยมากที่สุด และวิธีการเเปลส่วนใหญ่คือแปลเรียบเรียงตรงตามต้นฉบับโดยไม่ตัดทอน รองลงไปได้แก่เก็บความ เรียบเรียงและเขียนใหม่
วัตถุประสงค์ของการสอนเเปล
1. เป้าหมายที่สำคัญของการสอนแปล คือ การฝึกเพื่อผลิตนักแปลที่มีคุณภาพให้ออกไปรับใช้สังคมในด้านต่างๆ
2. การสอนแปลให้ได้ผลวิชาแปลเป็นวิชาที่เกี่ยวเนื่องกับทักษะ 2 ทักษะ คือทักษะในการอ่านและทักษะในการเขียน ผู้แปลจะต้องอ่านเข้าใจ สามารถจับใจความสำคัญได้และสามารถถ่ายทอดความเข้าใจนั้นออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรได้
3. ผู้สอนแปลต้องหาทางเร่งเร้าให้ผู้เรียนได้อ่านอย่างกว้างขวางมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้มีการค้นคว้าเพื่อหาทางแก้ปัญหาด้วยตนเองจากหนังสืออ้างอิงหรือแหล่งวิชาการต่างๆ
4. ให้ผู้เรียนแปลได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักแปลอาชีพหรือผู้ใช้บริการการแปล
การแปลที่ดีจะต้องถ่ายทอดความหมายของต้นฉบับได้อย่างถูกต้อง สวยงาม จนกระทั่งผู้อ่านไม่รู้สึกว่าตนเองกำลังอ่านสำนวนแปล ผู้แปลจะต้องมีศิลปะที่จะซ่อนเร้นร่องรอยของการแปลไว้อย่างมิดชิด จนกระทั่งผู้อ่านเกิดความประทับใจเช่นเดียวกับการอ่านจากต้นฉบับ

บทบาทของการแปล
- การแปลเป็นทักษะที่พิเศษในการสื่อสาร คือ ผู้รับสาร ไม่ด้รับสารจากผู้ส่งสารคนแรกโดยตรง แต่รับสารจากผู้แปลอีกทอดหนึ่ง
- ในการสื่อสารมีผู้แปลเป็นตัวกลางระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร ผู้แปลในฐานะที่เป็นตัวกลางในการส่งสารจึงมีบทบาทสำคัญมาก เพราะผู้แปลจะต้องเป็นตัวกลางระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร

ลักษณะของงานแปลที่ดี
          1. ความหมายถูกต้อง และครบถ้วนตามต้นฉบับ
          2. รูปแบบของภาษาที่ใช้ในฉบับแปลตรงกันกับต้นฉบับ
          3. สำนวนภาษาที่ใช้สละสลวยตามระดับของภาษา
                - การแปลที่แปลให้ใกล้เคียงกับต้นฉบับมากที่สุด คือ พยายามรักษาความหมายให้คงอยู่ครบถ้วน พร้อม ๆ กับพยายามรักษารูปแบบ หรือโครงสร้างของต้นฉบับไว้ด้วย

ลักษณะงานแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ดี
1.  ภาษาไทยที่ใช้ในงานแปลนั้นมีลักษณะเป็นธรรมชาติ ไม่ติดสำนวนฝรั่ง ปรับให้เป็นสำนวนไทยตามที่ใช้กันโดยทั่วไป ใช้ศัพท์เฉาะสาขา ศัพท์เทคนิค รูปประโยควรรคตอน ตลอดจนสำนวนเปรียบเทียบได้อย่างเหมาะสม
2. สามารถนำต้นฉบับภาษาอังกฤษมาเทียบเคียงกับคำแปลภาษาไทยได้ เน้นความชัดเจนของภาษาเป็นสำคัญ
3. ใช้การแปลตีความ แปลแบบเก็บความเรียบเรียงและเขียนใหม่ ไม่แปลคำต่อคำ

การให้ความหมายในการแปล
- การส่งสารโดยวิธีการแปลเป็นภาษาแม่ของตน การให้ความหมายมี 2 ประการคือ
1.  การแปลที่ใช้รูปประโยคต่างกันแต่มีความหมายอย่างเดียวกัน
2.  การตีความหมายจากบริบทของข้อความต่างๆ อาจจะดูจากสิ่งของ รูปภาพ การกระทำ ตลอดจนสถานภาพต่าง ๆ
          - การแปลอังกฤษเป็นไทย ต้องคำนึงถึงความหมาย ดังนี้
                   1. อนาคตกาล
                   2. โครงสร้างประโยคอื่น ๆ ในการแปลแบบของกาลในภาษาอังกฤษ ไวยากรณ์ มีบางอย่างยากที่ยาก
                   3. ศัพท์เฉพาะ
                   4. ตีความทำนาย

การแปลกับการตีความจากบริบท
- ความใกล้เคียง และความคิดรวบยอด ไม่ใช่เเปลให้ความหมายเดียวกันในรูปประโยคที่ต่างกัน แต่ให้ดูสถานภาพที่เป็นอยู่ของข้อความ
ดังนั้นผู้แปลจึงต้องทำให้นามธรรมนั้นออกมาเป็นความคิดรวบยอดจากรูปภาพและสามารถสรุปความหมายออกมาได้

การวิเคราะห์ความหมาย
1. องค์ประกอบของความหมาย
- เนื่องจากภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อความหมาย ภาษาแต่ละภาษาจึงต้องมีระบบที่จะแสดงความหมาย คือ
1. คำศัพท์ คือคำที่ตกลง ยอมรับกันของผู้ใช้ภาษาที่จะมีคำศัพท์จำนวนมากในการสื่อความหมาย ความหมายของคำแต่ละคำจะเปลี่ยนแปลงไปได้ในบริบทต่างๆตามที่คำนั้นปรากฏอยู่
2. ไวยากรณ์ หมายถึง แบบแผนการจัดเรียงคำในภาษา เพื่อให้เป็นประโยคที่มีความหมาย
3. เสียง ในภาษาจะมีเสียงจำนวนมากซึ่งเป็นเสียงที่มีความหมาย หากนำเสียงเหล่านี้มารวมกันเข้าอย่างมีระบบระเบียบ จะทำให้เกิดเป็นหน่วยที่มีความหมาย เรียกว่า คำ หรือ คำศัพท์
2. ความหมายและรูปแบบ
- ความหมายและรูปแบบมีความสัมพันธ์กันดังนี้
1. ในแต่ละภาษา ความหมายหนึ่งอาจจะแสดงออกได้หลายรูปแบบ เช่น ในรูปประโยคที่ต่างกันหรือใช้คำที่ต่างกัน
2. รูปเดียวอาจจะมีหลายความหมาย ความหมายของรูปแบบแต่ละรูปแบบนั้นไม่แน่นอนตายตัวเสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบทเป็นสำคัญ
3. ประเภทของความหมาย
1.  ความหมายอ้างอิง (referential meaning) หมายถึง ความหมายที่กล่าวอ้างโดยตรงถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม หรือเป็นความคิด มโนภาพ อาจเป็นความหมายทั่วๆไป หรือเป็นความหมายอ้างเฉพาะ
2. ความหมายแปล (connotative meaning) หมายถึง ความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้อ่าน ผู้ฟัง ซึ่งอาจจะเป็นความหมายในทาง บวก หรือทางลบก็ได้ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของภาษาและภูมิหลังของบุคคล
3. ความหมายตามบริบท (contextual meaning) รูปแบบหนึ่งๆของภาษาอาจจะมีความหมายได้หลายความหมาย ต้องพิจารณาจากบริบทที่แวดล้อมคำนั้นทั้งหมด จึงจะรู้ความหมายที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อ
4. ความหมายเชิงอุปมา (figurative meaning) เป็นความหมายที่เกิดจากการเปรียบเทียบ ทั้งการเปรียบเทียบโดยเปิดเผย และการเปรียบโดยนัย ผู้แปลจะต้องวิเคราะห์การเปรียบเทียบ
                - สิ่งที่นำมาเปรียบเทียบ (topic)
          - สิ่งที่ถูกเปรียบเทียบ (illustration)
          - ประเด็นของการเปรียบเทียบ (point of similarity)

การเลือกบทแปล
- เลือกบทแปลตามวัตถุประสงค์ของการสอนแปล เพื่อให้ได้ซึ่งความหลากหลายของประเภทงานเขียน โดยคำนึงถึงการทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสตระหนักถึงความบกพร่องต่างๆของตนในการแปล และให้ผู้เรียนได้ความรู้ทางด้านทักษะทางภาษา และเนื้อหาไปด้วย

เรื่องที่จะแปล
- เรื่องที่จะเลือกมาแปลมีหลายสาขา ต้องเลือก ซึ่งจะทำให้คนมีความรู้ทันสมัย จึงควรมีคณะกรรมการแปลระดับชาติ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ คือ กรรมการ และอนุกรรมการ
- การแปลหนังสือวิชาการสาขาต่าง ๆ จะเป็นการกำจัดอุปสรรคความรู้ภาษาต่างประเทศไม่ดีพอ จึงควรเลือกหนังสือที่เป็นหลักวิชาที่ยอมรับกันในสาขาวิชานั้นๆ ผู้แปลแต่ละสาขาจะต้องฝึกฝนภาษาอังกฤษในสาขาวิชาของตนด้วย
- การเลือกหนังสือที่จะแปล
          1. เป็นเรื่องที่เลือกเฟ้น
          2. เรียบเรียงให้ถูกต้องทันกับสากล ตลอดจนความละเมียดละไมลึกซึ้งในภาษา
          3. ใช้ภาษาแปลอย่างถูกต้อง
- ข้อควรระวัง คือ เรื่องวัฒนธรรม
SUKSAN CHAIRAKSA NO.5681114011
ENGLISH MAJOR ’01, FACULTY OF EDUCATION.
NSTRU

No comments:

Post a Comment